กิจกรรมวันคนยากจนโลก

กิจกรรมวันคนยากจนโลก

วันอาทิตย์ ที่ 17 พฤศจิกายน 2024

สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส กำหนดให้วันอาทิตย์ ที่ 33 เทศกาลธรรมดา ตรงกับวันที่ 17 พฤศจิกายน 2024 เป็นวันคนยากจน เพื่อให้เราสนใจช่วยเหลือคนจนอย่างเป็นรูปธรรม

หลังมิสซา 8.30 น. ที่อาสนวิหารพระหฤทัยเชียงใหม่ ที่สำนักมิสซังเวลา 9:30-12.00 มีซิสเตอร์และเจ้าหน้าที่ รวม 10 คน แจกไข่ไก่ ฟักทองที่ชาวบ้านมอบให้แก่เด็กบ้านพรสวรรค์ สัตบุรุษ และชาวบ้านใกล้สำนักมิสซัง

คุณพ่อศศินนำอาหารไป 20 ชุด มอบให้หลังมิสซา ที่ปางช้างโต้งหลวง เรานึกถึงคนกวาดถนนหน้าบ้าน คนเก็บขยะ คนใต้สะพานใกล้ๆ
อันที่จริงคาริตัสเชียงใหม่ ไปให้กำลังใจเด็กเยาวชน และชาวเมียนมาเขตสบเมยด้วย

(ฟ.วีระ อาภรณ์รัตน์)

ฉลองวัดนักบุญเทเรซา แห่งกัลกัตตา ปาย

ฉลองวัดนักบุญเทเรซา แห่งกัลกัตตา ปาย

วันเสาร์ ที่ 16 พฤศจิกายน 2024

ตามปกติเราฉลองนักบุญเทเรซาแห่งกัลกัตตา วันที่ 5 กันยายน แต่ที่คุณพ่อเปาโล แสงชัย ไอ่จาง เจ้าอาวาสวัดนักบุญเทเรซาแห่งกัลกัตตา ที่อำเภอปายจังหวัดแม่ฮ่องสอน จัดฉลองในวันเสาร์ ที่ 16 พฤศจิกายน

การฉลองวัดเป็นโอกาสให้สัตบุรุษมีเวลามาระลึกถึงประวัติของนักบุญองค์อุปถัมภ์ รู้แนวทางความสุขแท้ของชีวิต และเสริมมิตรภาพของผู้มาร่วมฉลอง

วัดนี้เป็นชุมชนคาทอลิกเล็กๆ มี 3 วัดสาขา ที่มีสัตบุรุษไม่มาก ที่อำเภอกัลยาณิวัฒนาจังหวัดเชียงใหม่ ยังไม่มีวัดแต่มีสัตบุรุษ 4-5 ครอบครัว เป็นกำลังหลักของวัดที่ปาย

ขอบคุณบรรดาสัตบุรุษจากอาสนวิหารเชียงใหม่ เยาวชนและสัตบุรุษจากวัดนักบุญฟรังซิสเซเวียร์แม่ฮ่องสอน ครอบครัวหนึ่งจากกรุงเทพฯที่มาร่วมฉลองให้กำลังใจเจ้าวัด…วันนี้

(ฟ.วีระ อาภรณ์รัตน์)

วันที่ 11 พฤศจิกายน
ระลึกถึงนักบุญ มาร์ติน แห่งตูร์ บิชอป

วันที่ 11 พฤศจิกายน ระลึกถึงนักบุญ มาร์ติน แห่งตูร์ พระสังฆราช

( St Martin of Tours, Bishop, memorial )

นักบุญมาร์ตินเกิดในราวปี ค.ศ. 316 คุณพ่อของท่านเป็นคนต่างศาสนา และเป็นทหารดูแลฝูงชน แต่ขณะนั้นประจำการอยู่ที่ Pannonia (คือประเทศฮังการีในปัจจุบัน) ท่านนักบุญจึงเกิดที่นั่น ต่อมาคุณพ่อของท่านถูกย้ายไปที่เมือง Pavia อยู่ในแคว้น Lombardy (ทางเหนือของประเทศอิตาลี) ที่นี่เองเมื่ออายุ 15 ปี ท่านนักบุญได้รับการคัดเลือกอยู่ในกองทหารม้าของจักรวรรดิประจำการที่ Amiens (Gaul, ฝรั่งเศส)

วันหนึ่งท่านขี่ม้าผ่านขอทานที่กำลังสั่นเพราะความหนาวเย็น เนื่องจากเขาเกือบจะไม่มีเสื้อผ้าสวมใส่ ด้วยความสงสาร ท่านได้ตัดเสื้อคลุมของท่านเป็นสองส่วน และยื่นให้ขอทานที่ยากจนคนนั้นหนึ่งส่วน ต่อมาในคืนวันนั้นเอง พระคริสต์ได้ทรงปรากฏองค์กับท่านโดยทรงสวมเสื้อคลุมนั้น [เสื้อคลุมครึ่งตัวที่เหลืออยู่นั้นถูกเก็บรักษาไว้เป็นเวลายาวนานในวัดน้อยของ Frankish Kings รู้จักกันในชื่อว่า “เสื้อคลุมของนักบุญมาร์ติน” (St Martin ‘s Cloak)] หลังจากเกิดเหตุการณ์ครั้งนี้ไม่นานนัก มาร์ตินก็ได้รับศีลล้างบาป และทันทีที่ไม่ต้องเป็นทหารม้ารับใช้แล้ว ท่านก็เข้าไปเป็นศิษย์ของนักบุญฮีลารี พระสังฆราช (St Hilary of Poitiers)

ในขณะที่ท่านกลับไปเยี่ยมพ่อแม่ที่เมือง Pavia ก็ได้ทำให้แม่กลับใจ แม้ว่าพ่อของท่านยังคงเป็นคนต่างศาสนาอยู่ ในช่วงเวลานั้น พวกถือนอกรีต Arians ประสบความสำเร็จในการขับไล่อาจารย์ของท่าน คือนักบุญฮีลารีให้ออกนอกแผ่นดินโกล (Gaul) ท่านจึงไปดำเนินชีวิตแบบฤาษีที่เกาะแห่งหนึ่งที่อยู่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

ในปี ค.ศ. 361 ท่านพร้อมกับนักบุญฮีลารีได้ถูกเรียกโดยคำสั่งจากทางจักรวรรดิให้ได้กลับไปที่เมือง Poitiers อีกครั้งหนึ่ง ทีละเล็กทีละน้อยก็ค่อยๆ มีฤาษีจำนวนมากมาอยู่กับท่าน และต่อมาก็ได้สร้างเป็นอารามฤาษีเบเนดิกตินที่มีชื่อเสียงแห่งเมือง Ligugé ซึ่งถือเป็นอารามฤาษีแห่งแรกบนแผ่นดินโกล ที่นี่นักบุญมาร์ตินจะยอมออกจากห้องเล็กๆ ในอารามเป็นระยะๆ เพื่อเดินทางไปแพร่ธรรมทั่วภาคกลางและด้านตะวันตกของโกล ซึ่งชาวพื้นเมืองเหล่านั้นจำนวนมากยังคงนับถือพระเท็จเทียม วันหนึ่งในปี ค.ศ. 371 ได้ถูกเรียกให้เข้าไปในเมืองตูร์ (Tours) ในฝรั่งเศส และได้รับคะแนนเสียงอย่างท่วมท้นบังคับให้ท่านต้องรับตำแหน่งเป็นบิชอปองค์ใหม่แทนตำแหน่งที่ว่างเปล่าอยู่ โดยที่ท่านไม่ค่อยเต็มใจมากนัก

การบริหารสังฆมณฑลของนักบุญมาร์ตินกระทำด้วยความหนักแน่นและยุติธรรม และด้วยความร้อนรนใหญ่หลวงที่จะชำระความเชื่อให้ถ่องแท้เพื่อต่อสู้กับพวกนอกรีต 2 พวก คือ Priscillianist และ Arian ท่านดำรงชีวิตเรียบง่าย สุภาพถ่อมตน และทำพลีกรรม อย่างไรก็ดี เพื่อหลีกให้พ้นจากความหลงใหลของตัวเมือง ท่านได้สร้างห้องเล็กๆ อยู่ในชนบทใกล้ๆ ซึ่งต่อมาไม่นานมีฤาษีอื่นๆ ตามมาอยู่ด้วย ต่อมาที่แห่งนี้กลายเป็นอารามของ Marmoutier ที่ยังคงอยู่มาจนถึงทุกวันนี้

นักบุญมาร์ติน แห่งตูร์ สิ้นชีพเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน ปี ค.ศ. 397 ท่านได้เป็นนักบุญองค์แรกของพระศาสนจักรตะวันตกที่ได้รับความเคารพนับถืออย่างกว้างขวางแม้ไม่ได้เป็นมรณสักขี โดยเฉพาะในยุคกลางท่านมีชื่อเสียงมาก จะเห็นได้จากการที่มีการสร้างวัดขึ้นมากมายโดยใช้ชื่อของท่านเป็นผู้อุปถัมภ์ และชื่อเมืองก็นำมาจากชื่อของท่าน

(ถอดความโดย : คุณพ่อวิชา หิรัญญการ
Based on : Saint Companions For Each Day
By : A.J.M. Mausolfe
J.K. Mausolfe)

Announcement on the Celebration of the Holy Year 2025 “Pilgrims of Hope”

Announcement on the Celebration of the Holy Year 2025 "Pilgrims of Hope"

The Diocese of Chiang Mai invites all parishes to prepare for the celebration of the Holy Year 2025, a year of hope and action in each locality. The main theme is pilgrimage, connecting with one another in each area, as our teacher, Jesus Christ, walked with his disciples, proclaiming the Good News of salvation through the commandment of love in a concrete way.

The Universal Church will begin the celebration on the evening of December 24, 2024, in Rome, and conclude on January 6, 2026. Each local church is encouraged to set its own schedule that aligns with the purpose of the celebration and to follow the guidelines provided throughout the year.

Therefore, each parish should be considered a place of pilgrimage, welcoming this important mission, as a place where pilgrims of hope come to receive the fullness of grace in this Holy Year and a place to organize various activities according to the guidelines set by the diocese.

Chiang Mai Diocese Guidelines for Participation in the Celebration of the Holy Year 2025, Year of Hope

1. Holy Year Schedule
The Diocese of Chiang Mai will begin on Saturday, December 28, 2024, and end on Saturday,
December 27, 2025.

2. Pilgrimage to Various Churches

Visit various churches within and outside the diocese to create a pilgrimage spirit and journey
together. Each diocese has its own designated pilgrimage sites.

The Diocese of Chiang Mai designates the following churches as pilgrimage sites:

 Sacred Heart Cathedral
 Our Lady of Lourdes Church, Lampang
 Our Lady of the Assumption Church, Mae Pon
 St. Patrick Church, Pa Tung
 St. Michael Garicoits Church, Chiang Dao
 Immaculate Conception Church, Muang Ngam
 St. Paul Church, Mae Sariang
 Our Lady of the Rosary Church, Khun Yuam

3. Receiving the Plenary Indulgence on this occasion

Christians can receive the Plenary Indulgence during this Holy Year according to the guidelines of the Church regarding the Plenary Indulgence for the Holy Year 2025.

3.1 Christians who are able to confess their sins should remember that we often neglect to apply the remission of sins from receiving the Sacrament of Reconciliation. This is a good opportunity to purify ourselves from all sins and live in the grace and blessings of God perfectly. Therefore, it is an appropriate time to receive the Plenary Indulgence to remit these sins.

3.2 The reception of the Plenary Indulgence should be done with true intention and attention to participating in Mass, receiving the Sacrament of Reconciliation and the Eucharist in Mass, along with a prayer according to the intentions of the Holy Father.

3.3 Priests should preach to the faithful about the purpose and methods of receiving the plenary indulgence on this special occasion.

4. Power of Absolution

The Bishop grants all priests working in the Diocese of Chiang Mai the authority to absolve sins that are not reserved for the Holy See, according to Canon Law, Article 508, paragraph 1, such as the sin of abortion.

5. Special attention during the Holy Year During this Holy Year, we should pay special attention to the spiritual care of the faithful by:

 Organizing marriages for couples who have not received the sacrament of matrimony.
 Offering the sacrament of reconciliation before daily Mass.
 Gathering young people to participate in the mission of the Holy Year.
 Visiting pilgrimage sites and caring for the elderly, the sick, and the needy.
 Providing pastoral care to migrants and refugees.
 Promoting the care of creation and the spiritual renewal of the faithful.

So that all pilgrims of hope, including ourselves, can walk together in our different circumstances but with the same goal, priests and parish councils should work together to lead the faithful towards the same goal.

Even though the Holy Year of Hope is limited in time, let it be an opportunity for all of us to return to our focus on each other, to give hope to the hopeless, and to strengthen each other.

“Jesus Christ is the way, the truth, and the life. The love of God is real yesterday, today, and tomorrow. Let us all invite ourselves to ignite the spark of hope and move forward together, now and forever”.

May God bless you,
+ Francis Xavier Vira Arporndratana
Bishop of the Diocese of Chiang Mai

Issued on November 6, 2024

(Fr. Matthew Sasin Mopho)
Secretary, Diocese of Chiang Mai

9 พฤศจิกายน ฉลองวันครบรอบการถวายพระวิหารลาเตรัน

9 พฤศจิกายน ฉลองวันครบรอบการถวายพระวิหารลาเตรัน

(The Dedication of the Lateran Basilica, feast.)

วันนี้เป็นวันฉลองการถวายพระวิหารของนักบุญยอห์น แห่งลาเตรันในกรุงโรม ซึ่งเป็นประดุจ “มารดาและนายหญิงของวัดทั้งหลายในเมืองและในโลกนี้” เพราะว่าเป็นธรรมาสน์ขั้นสังฆราชาขององค์พระสันตะปาปา ในฐานะที่ทรงเป็นสังฆราชของกรุงโรม พระวิหารนี้จึงอยู่ในอันดับสูงกว่าพระวิหารนักบุญเปโตร (วาติกัน)

พระนาง Fausta ซึ่งเป็นพระคู่ครองของจักรพรรดิคอนสแตนตินผู้ยิ่งใหญ่ ได้ทรงมอบวังลาเตรันของพระนางถวายแด่นักบุญ Miltiades, พระสันตะปาปา ราวปี ค.ศ. 313 ต่อมาเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ.324 นักบุญซิลเวสเตอร์ที่ 1 พระสันตะปาปา ได้ทำการเสกอย่างสง่าในภาคส่วนที่เป็นบาสิลิกาขององค์พระผู้ไถ่ผู้ศักดิ์สิทธิ์สูงสุด (ชื่อเดิม = the Basilica of the Most Holy Saviour) – เป็นการเสกวัดต่อสาธารณะเป็นครั้งแรกของพระศาสนจักร พิธีทั้งหมดอาจจะเป็นแบบเรียบๆง่ายๆในเวลานั้น แต่ต่อมาที่มีการเสกวัดอย่างสง่าที่เต็มไปด้วยรายละเอียดทางพิธีกรรมจนถึงปัจจุบันนี้ มีหลักฐานเป็นที่รับรู้ว่าได้ใช้มาตั้งแต่สมัยศตวรรษที่ 9 ในส่วนของวังลาเตรันที่เหลือ(ที่ไม่ได้เป็นเขตพระวิหาร) ก็เป็นวังที่ประทับของบรรดาพระสันตะปาปามากกว่า 1,000 ปีนับแต่นั้นมา และปัจจุบันก็กลายเป็นพิพิธภัณฑ์

ในช่วงศตวรรษที่ 4-16 มีการประชุมสภาสังคายนา 5 ครั้ง ประชุมซีโน้ด 20 ครั้ง ที่จัดขึ้นในบาสิลิกาหลังนี้ ตั้งแต่ศตวรรษที่ 12 ถึงจะได้ชื่อว่าเป็นพระวิหารนักบุญยอห์น แห่งลาเตรัน เพื่อเทิดเกียรติแด่นักบุญยอห์น บัปติสต์ และนักบุญยอห์น ผู้นิพนธ์พระวรสาร ที่จริงแล้ว ลาเตรันได้เป็นเหมือนโลกของคาทอลิกในอดีต ดุจดังที่วาติกันกำลังเป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ คือเป็นที่ตั้งธรรมาสน์ของการตัดสิน และเป็นศูนย์กลางการปกครองของพระศาสนจักร

โครงสร้างของพระวิหารหลังเดิมและต่อๆมาเสียหายไปหมด เพราะสงคราม เพราะแผ่นดินไหว และเพราะเปลวไฟ หลังที่เป็นบาโรค(Baroque) ทั้งหมดที่ทำขึ้นมาใหม่รวมทั้งการตกแต่งดังที่เราเห็นในปัจจุบันนี้ดำเนินการโดย ฟรานเชสโก บาร์โรมินี (Francesco Barromini) ในสมณสมัยพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 10 (Pope Innocent X) ในปี ค.ศ. 1646 ซึ่งถือเป็นหนึ่งในพระวิหารที่สง่างามมากที่สุดของกรุงโรม โดยมีหอคอยด้านหน้าอาคารใหญ่ ที่สร้างโดย อเล็กซานเดอร์ กาลิเลอี (Alexander Galilei) ในปี ค.ศ. 1735 ประดับด้วยรูปปั้นใหญ่มหึมา 15 รูป ซึ่งมีพระรูปพระคริสต์อยู่ตรงกลาง ขนาบสองข้างด้วยรูปนักบุญยอห์น บัปติสต์ และนักบุญยอห์น ผู้นิพนธ์พระวรสาร และนักปราชญ์ของพระศาสนจักรอีก 12 องค์

ในบรรดาพระธาตุสำคัญๆ ที่เก็บรักษาไว้ในสักการสถานยิ่งใหญ่ของ
คริสตชนแห่งนี้ ได้รับการบอกกล่าวกันมาว่ามีส่วนศีรษะของนักบุญเปโตร และนักบุญเปาโล ซึ่งบรรจุไว้ภายในกล่องเงินแท้

และด้านใต้ของพระแท่นถวายบูชาตรงกลาง ยังมีเศษของโต๊ะไม้เล็กๆ ที่นักบุญเปโตรได้เคยถวายบูชามิสซาในบ้านของ Pudens และพระธาตุไม้จากโต๊ะที่ใช้ในการเลี้ยงอาหารค่ำมื้อสุดท้ายขององค์พระผู้เป็นเจ้าอยู่ด้วย

(ถอดความโดย คุณพ่อ วิชา หิรัญญการ จากหนังสือ Saint Companions For Each Day ; เขียนโดย A.J.M. Mausolfe และ J.K. Mausolfe)

ข้อคิดข้อรำพึงอาทิตย์ที่ 32 เทศกาลธรรมดา ปี B

ข้อคิดข้อรำพึง อาทิตย์ที่ 32 เทศกาลธรรมดา ปี B

“หญิงม่ายยากจนคนนี้ได้ทำทานมากกว่าทุกคน”

หญิงม่ายคนนี้ปรากฏตัวขึ้นในบริเวณพระวิหารโดยไม่มีใครสังเกตเห็น ถ้าจะพูดให้ง่ายเข้าไม่มีใครอยากสังเกตเห็น เธอไม่สำคัญใดๆ ไม่มีคุณค่าให้ต้องจับตามอง และเธอก็ทำตัวลีบๆ เล็กๆ ผอมๆ จนๆ ไม่มีอะไรน่าดูทั้งสิ้น สู้จับตาดูพวกธรรมจารย์ และพวกบิ๊กเบ้งของชนชั้นชาวยิวยังดีเสียกว่า พวกเขาสวมเสื้อยาวเดินไปเดินมาให้เป็นที่จับตาคน ทำอะไรแต่ละที แต่ละอย่างก็แสนจะสง่าผ่าเผยโอ้อวด เช่นนั่งแถวหน้าในศาลาธรรมที่ทรงเกียรติที่สุด บ้างก็หยุดยืนอยู่ในที่โดดเด่น และอธิษฐานภาวนาอย่างยืดยาว เรียกว่าใครมาที่พระวิหารต้องเห็นภาพของเขา เป็นภาพที่น่าประทับใจที่ใบหน้าของเขาเหมือนเข้าฌาน กำลังสนทนากับพระเจ้าตามลำพัง และใบหน้าของเขาเปล่งประกายออกมา โอ้โห…สุดยอดจริง ๆ

ยิ่งกว่านั้น ในบริเวณเขตของพระวิหารที่ผู้หญิงเข้าได้ ยังมีกล่องรับบริจาคทาน 13 กล่องด้วยกัน รูปร่างกล่องเป็นรูปทรัมเป็ต จุดประสงค์ก็นำเงินนี้บำรุงรักษาพระวิหาร ชาวยิวมาจากประเทศต่างๆ ทั่วโลกที่พวกเขากระจัดกระจายอยู่ เมื่อมาเยี่ยมพระวิหารก็ทำบุญโดยใส่เงินลงไปในกล่องเหล่านี้ พวกคนที่ร่ำรวยและต้องการให้คนรู้ก็จะทำบุญโดยใส่เงินจำนวนมากลงไปในกล่อง เสียงเงินกระทบลงไปในกล่องจะดังกังวานเหมือนเสียงดนตรี ยิ่งเสียงดังจนทำให้คนตกใจได้ยิ่งดี

ภาพและเสียงที่เป็นมนต์เสน่ห์อย่างนี้ พระเยซูเจ้าทรงมองเห็นและรับรู้ แต่ไม่ทรงประทับใจ ส่วนหญิงม่ายที่ไม่มีใครสังเกตเห็น กลับเด่นชัดในสายพระเนตรของพระองค์ เธอทำตัวลีบๆ เดินไปที่กล่องรับบริจาค นำเงินทั้งหมดที่เธอมีออกมา ปรากฏว่ามีแค่เหรียญทองแดง 2 เหรียญเท่านั้นเอง แต่เธอให้จนหมด ถึงกระนั้นก็ไม่ได้ยินเสียงเหรียญกระทบกล่องเลย เธอรีบเดินออกมา จะได้ไม่เกะกะพวกคนร่ำรวยที่กำลังจะทำบุญ ภาพของเธอเช่นนี้แหละที่ทำให้พระเยซูเจ้าทรงประทับใจยิ่งนัก

จึงทรงเรียกบรรดาศิษย์มาสอนว่า หญิงม่ายคนนี้ต่างหากได้ทำทานมากกว่าทุกคน เพราะคนอื่นเอาเงินที่เหลือมาทำทาน แต่หญิงม่ายเอาเงินทั้งหมดที่ตนมีมาทำทาน สำหรับพระองค์การทำทานที่ได้บุญกุศลแท้จริง ไม่ได้อยู่ที่จำนวนเงินที่ให้ไป แต่อยู่ที่จำนวนเงินที่เจ้าตัวคงเหลืออยู่

มีคำกล่าวว่า คนที่ทำบุญให้ทาน มี 3 ประเภท ประเภทแรก คือคนที่ให้ทานโดยไม่เต็มใจ คนพวกนี้มักจะพูดด้วยคำขึ้นต้นว่า “ฉันเกลียดเหลือเกินที่จะต้องให้…” คนพวกนี้จะให้ทานด้วยความไม่เต็มใจ และรู้สึกขมขื่นใจที่ต้องฝืนใจให้ไป ประเภทที่สองคือคนที่ให้ทานโดยเขาถือว่าเป็นหน้าที่ คนพวกนี้จะพูดว่า “ฉันควรจะให้…” คนพวกนี้ไม่ค่อยเต็มใจที่จะให้เหมือนกัน แต่ให้ด้วยความรู้สึกว่ามันเป็นหน้าที่จริงๆ ประเภทที่สาม คือคนที่ให้ทานด้วยความเต็มใจอย่างยิ่ง คนพวกนี้จะพูดว่า “ฉันต้องการให้…” โดยตั้งใจให้อย่างเต็มที่ และให้จากใจจริง ๆ

ทานในที่นี้ไม่ได้หมายถึงตัวเงินอย่างเดียวเท่านั้น ยังหมายถึงทรัพยากรต่างๆ ในตัวเราที่มี รวมทั้งเวลา และโอกาส เช่น เรามอบตัวเราและเวลาให้กับพระโดยการมาร่วมมิสซาฯ ทุกๆ วันอาทิตย์โดยเต็มอกเต็มใจหรือไม่ เราให้ตัวเราและเวลากับสมาชิกในครอบครัวเราหรือไม่ รวมไปถึงการสนับสนุนกัน และ ความรัก การให้อภัย การรับใช้และบริการ รวมไปถึงในที่ทำงาน ไปถึงเพื่อนบ้าน และสังคมที่แผ่กว้างออกไปเรื่อย ๆ
เป็นเรื่องที่น่ากระทำใช่ไหมครับ

(คุณพ่อ วิชา หิรัญญการ เขียนลงสารวัดพระกุมารเยซู เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2009)

ข้อคิดข้อรำพึง อาทิตย์ที่ 32 เทศกาลธรรมดา ปี B

“หญิงม่ายยากจนคนนี้ได้ทำทานมากกว่าทุกคน”

วันหนึ่งมีคนขอทานคนหนึ่งไปหาคุณแม่เทเรซาและพูดว่า “ทุกคนให้บางสิ่งบางอย่างกับคุณแม่ ผมก็ต้องการให้บางสิ่งด้วย” แล้วเขาก็หยิบเงินเหรียญมูลค่าไม่กี่สตางค์มอบให้ไป คุณแม่เทเรซาคิดอยู่ในใจว่า “ถ้าฉันรับเงินนี้ เขาก็คงจากไปด้วยความหิว แต่ถ้าฉันไม่รับ เขาก็จะจากไปอย่างไม่มีความสุข” ดังนั้น จึงตัดสินใจรับไว้ ต่อมาในภายหลัง คุณแม่กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า “ฉันรู้สึกได้ภายในใจลึกๆ ว่าของขวัญนี้ยิ่งใหญ่กว่ารางวัลโนเบล เพราะเขาได้มอบให้ทั้งหมดที่เขามี ฉันสามารถมองเห็นความยินดีที่ได้ให้บนใบหน้าของเขาอย่างเด่นชัดทีเดียว” (John Rose : John’s Sunday Homilies – Cycle B – Illustrated with Stories, Verses & Anecdotes; p.237)

พระวรสารอาทิตย์นี้นักบุญมาระโกเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นตรงหน้าตู้ทาน พระเยซูเจ้าทอดพระเนตรเห็นประชาชนใส่เงินลงในตู้ทาน คนรวยๆ ก็ใส่เงินมาก แต่มีหญิงม่ายยากจนคนหนึ่งเอาเหรียญทองแดงสองเหรียญใส่ลงไปในตู้ทาน พระองค์ทรงกล่าวอย่างชื่นชมในการกระทำของหญิงม่ายให้บรรดาสาวกฟัง เพราะแม้เธอขัดสนอยู่แล้ว ยังได้เอาเงินทั้งหมดที่มีอยู่สำหรับเลี้ยงชีวิตมาทำทาน นี่แหละครับ เงินจำนวนเล็กน้อยของหญิงม่ายที่ยากจนกลับกลายเป็นสิ่งที่มีค่ามากในสายพระเนตรของพระเยซูเจ้า

กล่าวกันว่า มีผู้ให้ 3 ประเภทด้วยกัน พวกแรกเป็นผู้ให้แบบจำใจ พวกนี้เวลาให้จะพูดว่า “ฉันล่ะเกลียดที่จะต้องให้” พวกที่สองเป็นผู้ให้ตามหน้าที่ พวกนี้จะบอกว่า “ฉันคิดว่าควรจะให้” พวกสุดท้ายเป็นผู้ให้ที่เต็มใจ พวกนี้กล่าวว่า “ฉันอยากให้…..ฉันต้องการให้”

เราลองมาคิดกันดูซิว่า หญิงม่ายในพระวรสารเป็นผู้ให้แบบไหน และชายขอทานที่ให้เหรียญเล็กๆ กับคุณแม่เทเรซาเป็นผู้ให้แบบไหน แล้วเราล่ะ ได้เป็น กำลังเป็น หรือจะเป็นผู้ให้แบบไหน

“ให้” ในที่นี้ไม่จำเป็นต้องหมายถึง “เงิน” อย่างเดียว เพราะเราสามารถให้สิ่งอื่น เช่น ตัวเรา และเวลาของเราได้อีกด้วย ตัวอย่าง เราได้ให้ใจของเราและเวลาของเรากับพระเจ้าในการมานมัสการพระองค์ร่วมกับประชากรของพระคนอื่นๆ ในทุกวันอาทิตย์หรือในการภาวนาประจำวันหรือไม่ เราได้มอบตัวเราและให้เวลากับทุกๆ คนในครอบครัวเราหรือไม่ เช่นให้การสนับสนุน ให้ความรัก เราได้ให้ความสนใจและการบริการต่อเพื่อนบ้านเราหรือไม่
เชื่อว่าเราต้องรู้จักให้บ้างแน่ๆ แต่น่าสำรวจดูว่าเป็นการให้แบบไหน แบบจำใจ แบบทำตามหน้าที่ หรือแบบเต็มใจ ซึ่งเป็นการมอบให้อย่างคนใจดี ให้หมดหัวใจ

ที่จริง เราสามารถให้แก่คนอื่นๆ ด้วยวิธีต่างๆ กัน ดังนี้ “ของขวัญที่ดีที่สุดจะมอบให้ศัตรูคือการอภัย สำหรับเพื่อน –ให้ความซื่อสัตย์ สำหรับเด็กๆ –มอบตัวอย่างที่ดี สำหรับบิดา –ให้เกียรติท่าน สำหรับมารดา –ให้หัวใจของเรา และสำหรับเพื่อนบ้าน –ยื่นมือให้ความช่วยเหลือ” (Inspired by Francis Balfour)

ขอจบด้วยบทรำพึงสั้นๆ เรื่องที่พระเจ้าได้มอบสิ่งต่างๆ ให้กับเราด้วยพระทัยดี

“เราขอดอกไม้ดอกหนึ่ง
ทรงประทานช่อดอกไม้มาให้

เราขอน้ำหยดหนึ่ง
ทรงมอบมหาสมุทรแก่เรา

เราขอเพียงเม็ดทราย
ทรงมอบหาดทรายให้กับเรา

เราขอเพียงใบหญ้า
ทรงมอบสนามหญ้าเขียวขจี

เราขออาหารกิน
ทรงมอบพระกายและพระโลหิตของพระองค์ให้เรา”

(ความคิดมาจาก Mark Link, SJ. Illustrated Sunday Homilies –Year B –pp.244-246)

(คุณพ่อ วิชา หิรัญญการ เขียนลงสารวัดนักบุญยอแซฟ อยุธยา เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2012)

ไปเยี่ยมวัดพระวิสุทธิวงส์ ลำไทร

ไปเยี่ยมวัดพระวิสุทธิวงส์ ลำไทร

วันจันทร์ที่ 4 พฤศจิกายน 2024

เนื่องจากที่วัดพระวิสุทธิวงส์ ลำไทร จ.ปทุมธานี คุณพ่อหลุยส์ ธนันชัย กิจสมัคร เป็นเจ้าอาวาส พ่อเองควรไปเยี่ยม 4 แห่งในเขตวัดนี้ คือ
.
10:00 น. อารามนักพรตชีโต เวียดนาม ซึ่งปัจจุบันมี 7 คน พระสงฆ์ 4 บราเดอร์ 3 มาอยู่ที่บ้านเดิมของคณะฟรังซิสกัน หลังจากที่อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ได้ปรับปรุงบ้านพักวัดน้อยบ้านเข้าเงียบ ฯลฯ ได้เข้ามาประมาณ 9 เดือน และมีพิธีเปิด เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2023 มีคุณพ่อหลุยส์คอยอำนวยความสะดวก
14:00 น. ซิสเตอร์ดอมินิกัน 3 คน (ชาวฟิลิปปินส์ 1 เกาหลี 1 และเวียดนาม 1 ) มีบ้านพักอยู่หน้าวัดพระวิสุทธิวงส์ เพื่อจะสอนเด็กตาบอด
15:15 น. คอมมูนิต้า อินคอนโทร สมาชิกฟาเซนด้า จากบราซิล 2 คน เพื่อต่องานช่วยเหลือบำบัดผู้ติดยาเสพติดมีบ้านติดกับรั้ววัด
16:15 น. ศูนย์ประกาศข่าวดี คลอง 7 คุณพ่ออดิษผล รุ่งโรจน์วรพัฒนา เป็นผู้รับผิดชอบ บ้านเสร็จเรียบร้อยเหลือทำถนนคอนกรีต และปรับปรุงภูมิทัศน์ พร้อมต้อนรับสัตบุรุษ ต้นปีศักดิ์สิทธิ์ 2025
.
ขอบคุณคุณพ่อหลุยส์ ที่ช่วยพาผมไปเยี่ยมเยียนสมาชิกบ้านเหล่านี้

(ฟ.วีระ อาภรณ์รัตน์)

ที่ชม. 170/2024 อนุญาตให้รับศีลบวชเป็นพระสงฆ์ สังฆานุกร ซีเปรียน อภิกร โกมลพิทักษ์ชัย

ที่ชม. 170/2024 อนุญาตให้รับศีลบวชเป็นพระสงฆ์ สังฆานุกร ซีเปรียน อภิกร โกมลพิทักษ์ชัย

ที่ชม. 170/2024
ประกาศสังฆมณฑลเชียงใหม่
เรื่อง อนุญาตให้รับศีลบวชเป็นพระสงฆ์
· • —– ٠ ✤ ٠ —– • ·
หลังจากที่ได้มีการพิจารณาร่วมกันกับคณะที่ปรึกษาพระสังฆราชฯ เรื่องการอนุญาตให้ สังฆานุกรบวชเป็นพระสงฆ์นั้น มีมติให้ สังฆานุกร ซีเปรียน อภิกร โกมลพิทักษ์ชัย สัตบุรุษวัดพระแม่มารีย์ หนองแห้ง มีความเหมาะสมที่รับศีลบวชเป็นพระสงฆ์ เราจึงอนุญาตให้บวชเป็นพระสงฆ์ได้
.
พิธีบวชจะมีขึ้นในวันเสาร์ ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2567 ณ สามเณราลัยฟรังซิสเซเวียร์ ลําปาง
เวลา 10.00 น.
.
ประกาศ ณ วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 สํานักพระสังฆราชสังฆมณฑลเชียงใหม่
.
(พระสังฆราชฟรังซิส เซเวียร์ วีระ อาภรณ์รัตน์)
ประมุขสังฆมณฑลเชียงใหม่
.
(คุณพ่อมัทธิว ศศิน โหม่โพ)
เลขาธิการสังฆมณฑลเชียงใหม่

ประกาศเรื่องการเฉลิมฉลองปีศักดิ์สิทธิ์ 2025

ประกาศเรื่องการเฉลิมฉลองปีศักดิ์สิทธิ์ 2025

“บรรดาผู้จาริกแห่งความหวัง”

ที่ ชม. 160/2024
ประกาศเรื่องการเฉลิมฉลองปีศักดิ์สิทธิ์ 2025
“บรรดาผู้จาริกแห่งความหวัง”
· • —– ٠ ✤ ٠ —– • ·
สังฆมณฑลเชียงใหม่ให้ทุกวัดเตรียมความพร้อมต้อนรับปีศักดิ์สิทธิ์ 2025 เป็นปีแห่งความหวังและให้ลงสู่ภาคปฏิบัติในแต่ละท้องถิ่น เนื้อหาสําคัญคือให้มีการจาริกแสวงบุญเชื่อมโยงกันและกันในแต่ละท้องที่ สมกับที่พระเยซูเจ้า พระอาจารย์ของชาวเราที่เดินไปกับสานุศิษย์ประกาศข่าวดีแห่งความรอดพ้นด้วยบัญญัติแห่งความรักอย่างเป็นรูปธรรม
.
พระศาสนจักรสากลกําหนดเริ่มในค่ำคืนวันที่ 24 ธันวาคม 2024 ที่กรุงโรม และจบลงในวันที่ 6 มกราคม 2026 และให้พระศาสนจักรแต่ละท้องถิ่นมีกําหนดการให้เหมาะสม และสอดคล้องกับจุดประสงค์ของการเฉลิมฉลองด้วยกัน พร้อมด้วยแนวทางปฏิบัติตามกําหนดการตลอดทั้งปี
.
ดังนั้น ขอให้ทุกวัดเสมือนเป็นสถานที่ของการแสวงบุญต้อนรับพันธกิจสําคัญนี้ ด้วยเป็นสถานที่ของบรรดาผู้จาริกแห่งความหวังเดินทางมารับพระคุณการุณย์ครบบริบูรณ์โอกาสปีศักดิ์สิทธิ์ และเป็นสถานที่จัดงานต่างๆตามแนวทางของสังฆมณฑลกําหนด
.
จึงประกาศแนวทางการการมีส่วนร่วมเพื่อเฉลิมฉลองปีศักดิ์สิทธิ์ 2025 ปีแห่งความหวังของสังฆมณฑล ดังนี้
.
1. กําาหนดการปีศักดิ์สิทธิ์
สังฆมณฑลเชียงใหม่ให้เริ่มวันเสาร์ที่ 28 ธันวาคม ค.ศ. 2024 และจบลงในวันเสาร์ที่ 27 ธันวาคม ค.ศ. 2025
.
2. การแสวงบุญตามวัดต่างๆ
ให้ออกไปเยี่ยมเยียนวัดต่างๆทั้งในสังฆมณฑลและต่างสังฆมณฑล เพื่อให้จิตตารมณ์การแสวงบุญพร้อมเดินทางไปด้วยกัน ซึ่งแต่ละสังฆมณฑลได้กำหนดไว้
ทางสังฆมณฑลเชียงใหม่ ขอให้วัดดังต่อไปนี้เป็นวัดจาริกแสวงบุญของสังฆมณฑล ได้แก่ อาสนวิหารพระหฤทัย วัดแม่พระเมืองลูร์ด ลําปาง วัดแม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ แม่ปอน วัดนักบุญปาตริก ป่าตึง วัดนักบุญไมเกิ้ล การิกอยส์ เชียงดาว วัดแม่พระปฏิสนธินิรมล เมืองงาม วัดนักบุญเปาโล แม่สะเรียง และ วัดแม่พระลูกประคํา ขุนยวม
.
3. การรับพระคุณการุณย์ครบบริบูรณ์ในโอกาสนี้
คริสตชนสามารถรับพระคุณการุณย์ครบบริบูรณ์ในโอกาสปีศักดิ์สิทธิ์นี้ ตามหลักเกณฑ์ของพระศาสนจักรว่าด้วยการโปรดพระคุณการุณย์ครบบริบูรณ์ ปีศักดิ์สิทธิ์ 2025
3.1 คริสตชนที่สามารถแก้บาปรับศีลได้ จึงสํานึกอยู่เสมอว่าหลายครั้งที่เราอาจละเลยการใช้โทษบาปจากการรับศีลอภัยบาปแล้ว เป็นโอกาสดีที่เราจะได้ชําระล้างโทษบาปให้หมดไป เพื่อการอยู่ในศีลในพรของพระเจ้าอย่างสมบูรณ์ จึงเป็นเวลาเหมาะสมให้เป็นโอกาสรับพระคุณการุณย์ครบบริบูรณ์ยกโทษบาปดังกล่าว
3.2 การรับพระคุณการุณย์ครบบริบูรณ์นั้นควรมีความตั้งใจอย่างแท้จริง และเอาใจใส่เรื่องการร่วมมิสซา รับศีล อภัยบาปและศีลมหาสนิทในมิสซา พร้อมการสวดภาวนาตามพระประสงค์ของสมเด็จพระสันตะปาปา
3.3 ให้พระสงฆ์ผู้อภิบาลทุกคน เทศน์เตือนใจให้สัตบุรุษทราบถึงจุดประสงค์และวิธีการของการรับพระคุณการุณย์ครบบริบูรณ์ในโอกาสพิเศษนี้
.
4 อำนาจการยกบาป
พระสังฆราชอนุญาตให้พระสงฆ์ทุกองค์ที่ทํางานในสังฆมณฑลเชียงใหม่ มีอํานาจในการยกบาปที่มิได้สงวนไว้สําหรับสันตะสํานัก ตามกฎหมาย มาตรา 508 วรรค 1 เช่น บาปการทําแท้ง เป็นต้น
.
5. เอาใจใส่พิเศษในช่วงเวลาปีศักดิ์สิทธิ์
ในช่วงเวลาปีศักดิ์สิทธิ์นี้ ขอให้เอาใจใส่เป็นพิเศษต่อการดูแลด้านฝ่ายจิตวิญญาณของพี่น้องสัตบุรุษ โดยจัดให้มีพิธีแต่งงานสําหรับคู่สมรสที่ยังไม่เรียบร้อย โปรดศีลอภัยบาปก่อนมิสซาประจําวัน รวบรวมเยาวชนเพื่อการมีส่วนร่วมในพันธกิจปีศักดิ์สิทธิ์ เยี่ยมเยียนวัดแสวงบุญ ดูแลผู้สูงอายุ ผู้เจ็บป่วย และผู้ขัดสน อภิบาลศีลศักดิ์สิทธิ์ผู้อพยพต่างถิ่น และผู้หนีภัยสงคราม ส่งเสริมการรักษาสิ่งสร้าง และฟื้นฟูจิตใจสัตบุรุษอย่างสม่ำเสมอ
.
เพื่อให้ผู้จาริกแห่งความหวังซึ่งหมายถึงเราทุกคนสามารถก้าวไปด้วยกันในสภาพที่แตกต่างกันแต่มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน ขอให้พระสงฆ์และสภาภิบาลของวัดร่วมมือกันนําพาสัตบุรุษก้าวไปอย่างพร้อมเพรียงกัน
.
ถึงแม้ว่าปีศักดิ์สิทธิ์แห่งความหวังมีเวลาจํากัด ขอให้เป็นโอกาสที่เราทุกคนกลับมาสนใจกัน เพื่อให้ความหวังกับผู้ หมดหวัง และเสริมกําลังใจกันและกันเพิ่มขึ้น
.
“พระเยซูคริสตเจ้าเป็นหนทาง ความจริงและชีวิต ความรักของพระเจ้าเป็นจริงทั้งวานนี้ วันนี้และพรุ่งนี้
ขอเชิญชวนเราทุกคนเริ่มจุดประกายความหวัง ก้าวไปข้างหน้าด้วยกัน บัดนี้และตลอดไป”
.
ประกาศ ณ วันที่ 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 2024
.
(พระสังฆราชฟรังซิสเซเวียร์ วีระ อาภรณ์รัตน์)
พระสังฆราชแห่งสังฆมณฑลเชียงใหม่
.
(คุณพ่อศศิน โหมโพ)
เลขาธิการสังฆมณฑลเชียงใหม่

วัดพระคริสต์แสดงองค์ ฝาง ขอเรียนเชิญโอกาสฉลองวัดและครบรอบ 45 ปี

วัดพระคริสต์แสดงองค์ ฝาง ขอเรียนเชิญโอกาสฉลองวัดและครบรอบ 45 ปี

มีความยินดีขอเรียนเชิญท่านร่วมโมทนาคุณพระเจ้า
โอกาสฉลองวัดและครบรอบ 45 ปี แห่งการรักและรับใช้ ของครูคําสอน โมเสส มนตรี พลอยศรี
· • —– ٠ ✤ ٠ —– • ·
พิธีบูชาขอบพระคุณ
โดย บิชอปฟรังซิสเซเวียร์ วีระ อาภรณ์รัตน์
ประมุขสังฆมณฑลเชียงใหม่
.
วันเสาร์ที่ 4 มกราคม ค.ศ. 2025 เวลา 10.00 น.
ณ วัดพระคริสต์แสดงองค์ฝาง จังหวัดเชียงใหม่
(หลังพิธีขอเชิญรับประทานอาหารร่วมกัน)