SEPTEMBER- DECEMBER 2024 ENGLISH NEWS SUMMARY

SEPTEMBER- DECEMBER 2024 ENGLISH NEWS SUMMARY

(Summarized and translated from FB Chiang Mai Diocese by Santa Agustilo)

Blessing of Benedictine Retreat House
· • —– ٠ ✤ ٠ —– • ·
On September 9, 2024 the new Retreat House of the Vietnamese Benedictine Monastery in Hang Dong District was blessed by H.E. Francis Xavier Vira Arpondratana. Around 35 people including priests, religious and lay friends attended while some came from Vietnam. The diocese is proud to have a house forspiritual renewal for lay, religious and interested people.
.
.
.
Visit to St. Joseph Seminary at Samphran, Nakhon Pathom
· • —– ٠ ✤ ٠ —– • ·
On September 15, 2024, H. E. Bishop F.X. Vira Arpondratana was welcomed by Fr. Witthaya Latloi to St. Joseph Minor Seminary. His Excellency visited the minor seminarians who introduced themselves one by one and had dinnerwith them. A total of 103 seminarians were present coming from 3 Dioceses: 69 from Bangkok, 27 from Chiang Mai and 7 from Chiang Rai. Fr. Paul Saefrung (Fr. Tee) from Chiang Mai Diocese helps take care of the seminarians.
.
.
.
National Youth Day 2024
· • —– ٠ ✤ ٠ —– • ·
On the occasion of National Youth Day, Zone 1 of Chiang Mai diocese organized a Youth Day on 21 Sept. 2024 with the support of the Serra Group. The theme was “Moving Forward Together, Young Serrans Care for the World”, the 170 Youths learned how preserve and care for the environment, aduty for all to work together, to act now, and to do so with hope.
.
.
.
Claris Monastery Visited by Flood Rescue Team
· • —– ٠ ✤ ٠ —– • ·
On 28th September 2024 after the first flood in Chiang Mai, Dr. Atiwat Chuenwut, President of the Thammapracha Foundation, visited the Claris Monastery at Saraphi District which was hit by highlevel flooding. They brought some goods to help the monastery. The Mayor of Nong Phueng Municipality assigned the members of the Foundation to welcome and guide them to the area. They received support from the Central Rescue Foundation and Siam Ruam Jai Rescue. The following day, he also visited the Maepon Sisters at the Catholic Mission Center in Changklan Road and brought goods to distribute to others during the flood.
.
.
.
CHIANG MAI FLOOD 2024
· • —– ٠ ✤ ٠ —– • ·
In late September and early October, 2024 following the continuous heavy rain, especially in the northern regions of Thailand, a very severe flooding had occurred. The Ping River overflowed which resulted in casualties and damages. The first flooding was on the 25-28th September and again on 4th – 7 th October, according to media reports, in Chiang Mai more than 80 people have been evacuated in a dozen shelters due to floods and flash floods.
.
Homes and agricultural products have been extensively damaged. Although government agencies, private sectors, and various charitable organizations have provided initial assistance, people have suffered, it caused shortage of food and drinking water. To demonstrate the unity in faith in Christ, the Catholic Bishops’ Conference of Thailand invited all the dioceses of Thailand to show love and compassion to the victims. Generous help arrived from the faithful and volunteers.
.
.
.
Father Ugo Donini, SCJ Bid Goodbye!
· • —– ٠ ✤ ٠ —– • ·
While the water was rising steadily on Friday morning, October 4th, 2024, Father Ugo Donini, dressed smartly (with Father Alberto Pensa), came to Catholic Mission Center bringing a picture of the Last Supper (3D image) to bid farewell to Bishop Francis X. Vira Arpondratana. Father Donini was going back to Italy. He has been a missionary of the Betharam Congregation in Thailand for 56 years (1968-2024). He used to stay at the Joseph Seminary in Sam Phran, where the late Bishop Joseph Nittayo retired to the Little Seminary, and became a missionary in the Chiang Mai Diocese. With grateful hearts we ask God to bless and grant him good health, peace and joy for having served the Thai people.
.
.
.
Our Lady of the Holy Rosary Church, Khun Yuam
· • —– ٠ ✤ ٠ —– • ·
On the 4th October 2024, H.E. Bishop F.X. Vira Arpondratana had to be assisted to facilitate the trip to Mae Hong Son due to the rising water flooding the Changklan road.H.E. was the celebrant of the Eucharistic celebration on the feast of the Lady of the Rosary parish in Khun Yuam on 5th October 2024. In order to reach there, H.E has to connect to the bus at Panthip Plaza where the route is still passable. Thankful for the help received the celebration went on.
.
Fr. Somyot Thepsamut celebrated the “triduum” with around 120 faithful. There were also 10 volunteers from Bangkok attending the celebration. Performances by the Youth and the Housewives groups, Football and Volleyball matches created fun and relaxation for the whole community. In going back to Chiang Mai, the flood was still rising, the Changklan road was impassable and H.E. F.X. Vira had to stay in Marina House for the night.
.
.
.
CHIANG MAI AFTER THE FLOOD SUBSIDED
· • —– ٠ ✤ ٠ —– • ·
Days after the severe flooding, the homes, schools, churches and streets were covered with brown sticky mud and all the flood waste imaginable. Cleaning had to be organized and started right away. Piles of different kinds of garbage lined up along the streets that needed to be attended to.
.
Everybody rolled up their sleeves and started the clean-up operation. Solidarity and generous help were received from friends, neighbors, volunteers and the faithful in different ways: financial help, time, energy, prayers and many others. Thank you one and all for your concrete help coming from compassionate loving hearts.
.
.
.
Hmong Catholic Youth Camp
· • —– ٠ ✤ ٠ —– • ·
On October 15-19, 2024, the northern dioceses of Nakhon Sawan, Tak, Nan, Chiang Rai and Chiang Mai held a Youth Camp for Hmong youth at the Love and Sharing Foundation, Chomthong, Chiang Mai. The theme was “Rejoice in Hope” (Rom 12:12) with a total of 236 youths participated in the camp.
.
The aims were for the northern youth Hmong Catholics to meet, exchange experiences, do activities together, learn the Apostolic Letter Laudato Si’ and to be aware of the current environmental problems and find ways to protect the common home. They have studied the message of Pope Francis on the occasion of the 38th World Youth Day under the theme “Rejoice in Hope” (Rom 12:12). “Christ lives, He is our hope, and in a miraculous way He brings youth to our world” (Christus Vivit, 1). The retreat speakers were Father Somsak Saenyakul, Father Nikhom Pongwisutsakul, and the Catechists of the Redemptorist Church (Hmong Catholic Center) Chiang Mai. Thanking them together with many others from different villages who made this camp a success.
.
.
.
“The Right to Food for a Better Life and a Better Future.”
· • —– ٠ ✤ ٠ —– • ·
On Sunday, October 27, 2024, the Diocese of Chiang Mai together with 4 parishes in Mae Hong Son Province and the Women’s Department jointly organized World Food Day and the Local Food Campaign Day at St. Peter Church, Mae La Noi under the theme “Right to foods for a better life and a better future”.
.
H.E. Bishop Francis Xavier Vira Arporndratana presided the event with the representatives of the clergy of the district 4 Mae Hong Son. Participated by men and women religious and faithful from various parishes, especially parishes in Mae Hong Son Province, who joined in organizing the event. Featuring Food booths of local agricultural products of the different tribes from the production process to cooking into different types of food.
.
The aims of the event were:
– To jointly bear witness of the Christian faith in God’s creation and revive community’s local wisdom in caring for the nature sustainably.
– ‭To pass on to new generations of farmers and promote alternative markets for consumers.
– Create awareness to help the hungry and starving without leaving anyone behind.
– Campaign to promote the production and consumption of safe food.
– Encourage everyone to use resources well, appreciate their value, do not waste and take care of them (Laudato Si).
.
The World Food Festival in Mae La Noi showed great cooperation of brothers and sisters from various parishes which brought food to feed about 1,500 villagers. It was an opportunity to remind each other to be aware of the right to food, abundant agriculture with a sustainable food system that belongs to the various tribes.
.
.
.
Congratulations Fr. Matthew Sorasak and Sr. Maria!
· • —– ٠ ✤ ٠ —– • ·
On October 24, 2024Oct.24 Rev. Fr. Matthew Sorasak Charoensukthawiphun from the Diocese of Chiang Mai who had been studying at the University of Urbaniana, Rome, Italy graduated with a Master’s degree in Biblical Theology together with Sister Maria (from China). Congratulations to both of them.
.
.
.
Day of the Poor
· • —– ٠ ✤ ٠ —– • ·
On November 17, 2024, through the encouragement of Pope Francis to focus on helping the poor in a concrete way. At the Catholic Mission Center from 9:30 a.m. – 12:00 noon, the sisters and staff distributed eggs and pumpkins given by villagers to children at Baan Phonsawan, the faithful, and the neighborhood of the mission center. Father Sasin brought 20 food packages to give after the mass at the Tong Luang elephant camp, the street sweepers in front of the CMC, the garbage collectors, and the people under the nearby bridge. While Caritas Chiang Mai went to encourage the refugees from Myanmar in Sop Moei District.
.
.
.
December Celebrations
· • —– ٠ ✤ ٠ —– • ·
Celebrating Christmas and 50 years of St. Teresa Church Community, Ban Khun Om Long is one event of the many others celebrations in the Diocese of Chiang Mai during the Advent Season. On the weekend of 21-22 December 2024, H.E. Bishop F.X. Vira Arpondratana concelebrated with Bishop Joseph Vuthilert Haelom the Eucharistic celebration in the morning with a total of 70 people: priests and other Bishops members of the CBCT at the office in Soi Nonsi, Bangkok.
.
In the afternoon, H.E. travelled to Samoeng, Chiang Mai to celebrate the 50th year of St. Teresa Church, Khun Om Long whose pastor is Fr. Father Thammanun Jindadujsaichon and Father D. Savio Sathit Sa-I as the assistant pastor. This community was started by Fr. Sala of Betharram Congregation since 1973. From this village, 2 were called to be priests, 1 sister, a catechist and staff in the diocese.
.
.
.
JUBILEE Year 2025 “Pilgrims of Hope”
· • —– ٠ ✤ ٠ —– • ·
The Catholic Church has announced the celebration of the Holy Year 2025 under the theme “Pilgrims of Hope” and began on the evening of December 24, 2024 in Rome and will end on January 6, 2026.
.
For the Diocese of Chiang Mai, it began on Saturday, December28, 2024 and will end on Saturday, December 27, 2025, as announced by Bishop Francis Xavier Vira Arpondratana on November 6, 2024 and H. E. designated 8 churches in the Diocese of Chiang Mai as pilgrimage churches. For more details about the Jubilee Year 2025 local activities, go to http://www.cmdiocese.org and www.jubilee2025th.com. Below is the list of the 8 churches
.
On December 28, 2024 at 10:00 a.m., the Diocese of Chiang Mai held a magnificent opening ceremony of the Holy Year at the Sacred Heart Cathedral, presided by Bishop Francis Xavier Vira Arporndratana, fully packed with priests, male and female religious, children, youth and Christian brothers and sisters from various indigenous and ethnic groups. The atmosphere of family in the same faith was so strong.
.
On this occasion, Bishop Francis Xavier Vira Arporndratana encouraged everyone in caring for the family not as a heavy burden but as the Church wished families to be warm, open to the needs of others and not closed doors, but rather are open following the example of the Holy Family. “This Holy Year, let us live with hope and not despise the cross because it is a symbol of His love for us humans. Let us accept hardships and follow Jesus because He will never disappoint us.” H. E. concluded

13 ธันวาคม
ระลึกถึงนักบุญลูเซีย พรหมจารีและมรณสักขี

13 ธันวาคม ระลึกถึงนักบุญลูเซีย พรหมจารีและมรณสักขี

(St. Lucy, Virgin & Martyr, memorial)

ตามตำนานที่เล่าขานกันมา นักบุญลูเซียเป็นเด็กสาวเกิดที่เมืองไซราคิวส์ (Syracuse) อยู่บนเกาะซิซิลี ทางตอนใต้ของประเทศอิตาลี วันหนึ่งเธอได้ไปที่สักการสถานของนักบุญอากาธา ที่ คาตาเนีย กับมารดาของเธอ ซึ่งต้องรับความทุกข์ทรมานจากโรคโลหิตไหลไม่หยุด (ที่ไม่สามารถควบคุมได้) ในขณะที่กำลังสวดอยู่ที่สักการสถานนั้น มารดาของเธอหายจากโรคอย่างอัศจรรย์ นักบุญลูเซียจึงได้ตัดสินใจสละทรัพย์สมบัติฝ่ายโลกเพื่อไปทำงานรับใช้คนยากคนจน และได้ปฏิญาณว่าจะถือพรหมจรรย์ และยกเลิกการแต่งงานกับชายหนุ่มตระกูลสูงที่เคยกำหนดไว้ก่อนหน้านี้ เพื่อจะมอบชีวิตของเธอทั้งครบแด่องค์พระผู้เป็นเจ้า

ชายหนุ่มคู่หมั้นหมายโกรธมากที่เธอทำเช่นนี้ จึงได้กล่าวหาเธอต่อหน้ากงสุลโรมันว่าเธอเป็นคริสตชน ซึ่งถือว่าเป็นการหมิ่นเกียรติต่อกฎหมายของจักรวรรดิโรมัน แต่เธอกลับประกาศความเชื่อของเธออย่างกล้าหาญ เธอจึงถูกตัดสินให้รับความทรมานโดยไฟและน้ำมันเดือด เธอยอมรับทรมานแสนสาหัสโดยไม่ถอยหนี และไม่แสดงความอ่อนแอให้ปรากฏเลย เธอกล่าวว่า “พระเจ้าได้ทรงให้ฉันต้องสู้ทนกับสิ่งเหล่านี้ เพื่อปลดปล่อยคริสตชนให้เป็นอิสระจากความกลัวที่จะต้องทุกข์ทรมาน” และแม้เธอจะถูกดาบจ้วงฟันเข้าไปถึงคอหอย แต่เด็กสาวผู้นี้ยังไม่สิ้นลม จนกระทั่งเธอได้รับศีลมหาสนิทสำหรับการเดินทางครั้งสุดท้ายไปสู่สวรรค์ เธอสิ้นชีพในช่วงการเบียดเบียนของจักรพรรดิดิโอเคลเตียน (Diocletian) ในปี ค.ศ. 304

“ฉันเป็นเพียงผู้รับใช้ผู้ยากจนขององค์พระผู้เป็นเจ้า
พระองค์เพียงผู้เดียวที่ฉันถวายทุกสิ่งเป็นพลีบูชา
ฉันไม่มีสิ่งใดให้มอบถวายอีกแล้วนอกจากตัวฉันเท่านั้น”
นักบุญลูเซีย

(ถอดความโดย คุณพ่อ วิชา หิรัญญการ จากหนังสือ
The Book of Saints, Text by Victor Hoagland, C.P., The Regina Press, New York)

N.B. มีตำนานอีกแห่งเล่าว่า เมื่อนักบุญลูเซียถูกกล่าวหา ผู้พิพากษาออกคำสั่งให้จับไปขังไว้ในโรงหญิงโสเภณี แต่เธอมีวิธีที่จะรักษาเกียรติของเธอไว้ได้ แล้วนั้น พวกผู้คุมได้รับคำสั่งให้ใช้ไฟเผาหญิงสาว แต่พวกเขาก็ไม่สามารถฆ่าเธอได้ ตำนานเล่าต่อมาว่า เพื่อทำให้ตัวเธอดูน่าเกลียด เธอจึงควักลูกตาออกมา ซึ่งก็ได้ถูกนำกลับคืนไปสู่ที่เดิมอย่างอัศจรรย์ ดังนั้น นักบุญลูเซียจึงมีชื่อเสียงเป็นพิเศษในการรักษาโรคที่เกี่ยวกับดวงตาทั้งหลาย
(จาก A Calendar of Saints, โดย James Blentley)

ฉลองวัดนักบุญฮูนิเปโร เซอร์ร่า บ้านตีนผา

ฉลองวัดนักบุญฮูนิเปโร เซอร์ร่า บ้านตีนผา

อาทิตย์ที่ 8 ธันวาคม 2024

นับเป็นครั้งที่ 2 ที่พ่อมีโอกาสมาเยี่ยมสัตบุรุษวัดน้อยแห่งนี้
.
พระสังฆราช ยอแซฟ สังวาลย์ ศุระศรางค์ ได้เสกวัดหลังแรกเมื่อปลายปี 2000
คุณพ่อชาคริตได้สร้างวัดหลังที่ 2 และได้เชิญพ่อไปเสกวัด ปี ค.ศ. 2014 โดยมีสมาชิกคณะเซอร์ร่าได้สนับสนุนการก่อสร้าง
วันนี้จึงมีสมาชิกเซอร์ร่า จากกรุงเทพฯ จันทบุรี พิษณุโลก ประมาณ 32 คน มาร่วมฉลอง
9.30 น. มีนักเรียนรำต้อนรับหน้าวัด
.
พิธีโปรดศีลล้างบาปแก่เด็กจำนวน 11 คน
10.00 น. มิสซาฉลองวัด เสกถ้ำแม่พระหน้าวัด สัตบุรุษขับร้องกันพร้อมเพรียงดีมาก
คุณพ่อภัทรพงศ์ ศรีวรกุล พ่อเจ้าอาวาสวัดนักบุญปาตริก ป่าตึง บอกว่า มิสซาวันอาทิตย์สัตบุรุษเต็มวัด ประมาณ 100 คน
.
หลังจากรับประทานอาหาร พ่อไปเสกบ้านแม่พระของครอบครัวเซอร์มารีย์ จากอารามการ์เมล สีลม ซึ่งเป็นที่สัตบุรุษมาร่วมกันสวดสายประคำ เปิด-ปิดเดือนแม่พระ ก่อนที่จะมีถ้ำแม่พระหน้าวัด

(ฟ.วีระ อาภรณ์รัตน์)

8 ธันวาคม
สมโภชพระนางมารีย์ผู้ปฏิสนธินิรมล

8 ธันวาคม สมโภชพระนางมารีย์ผู้ปฏิสนธินิรมล

( Immaculate Conception of the Blessed Virgin Mary, solemnity )

เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ. 1854 พระสันตะปาปาปีโอที่ 9 ได้ทรงทำตามเสียงเรียกร้องของบรรดาพระสังฆราชคาทอลิกทั่วโลก ให้มีการประกาศอย่างสง่าในสมณสาส์น หรือสมณโองการของพระองค์ที่ชื่อว่า “Ineffabilis Deus” ว่าดังนี้ :

“เราขอประกาศให้ทราบอย่างเป็นทางการ และให้คำนิยามว่า ข้อความเชื่อที่สอนว่าพระนางมารีย์พรหมจารีนั้นทรงได้รับการพิทักษ์รักษาไว้ ตั้งแต่แรกเริ่มของการปฏิสนธิของพระนางโดยพระหรรษทานและเอกสิทธิ์เฉพาะขององค์พระผู้ทรงสรรพานุภาพ และเพราะฤทธิ์กุศลทั้งมวลของพระเยซูคริสต์ พระผู้ไถ่ของมวลมนุษยชาติ ให้ทรงเป็นอิสระจากมลทินทั้งสิ้นของบาปกำเนิด นี่คือการไขแสดงจากพระเจ้า และต้องเชื่ออย่างหนักแน่นมั่นคงโดยสัตบุรุษทุกคน”

มีคำกล่าวอ้างถึงมากมายในงานเขียนของบรรดาปิตาจารย์ของพระศาสนจักรในสมัยแรกๆ ตั้งแต่ไม่กี่ปีหลังมรณภาพของนักบุญยอห์น ซึ่งบอกเป็นนัยถึงความเชื่อเรื่องการปฏิสนธินิรมลของพระนางมารีย์ ในพระศาสนจักรตะวันออกมีการสมโภชเรื่องนี้มาตั้งแต่ศตวรรษที่ 7 ส่วนทางตะวันตกตั้งแต่ศตวรรษที่ 9 การประกาศกฤษฎีกาข้อนี้นับเป็นบทสรุปสูงสุดของธรรมเนียมที่ถือกันมาหลายศตวรรษแล้ว ในเรื่องของการเฉลิมฉลองทางพิธีกรรมว่าพระนางมารีย์ทรงถือกำเนิดมาโดยไม่มีบาป และสถานะชีวิตศักดิ์สิทธิ์ของพระนาง

ถ้าพิจารณาจากธรรมประเพณีที่เก่าแก่ในเรื่องนี้ มีสิ่งน่าสนใจที่ควรรับรู้ว่า สถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียง เช่น มหาวิทยาลัยแห่งกรุงปารีส ในปี ค.ศ. 1497 ได้เรียกร้องนักศึกษาให้คำสาบานว่าจะป้องกันและยืนยันถึงเรื่องการปฏิสนธินิรมลของพระนางมารีย์ ต่อมาหลังปี ค.ศ. 1839 บทภาวนาวอนขอแห่งโลเรโต (Litany of loreto) ได้เพิ่มคำสวดขอความช่วยเหลือเข้าไปอีกว่า “พระราชินีผู้ปฏิสนธิโดยปราศจากบาป โปรดภาวนาเพื่อเราเทอญ” และที่สื่อความหมายชัดแจ้งที่สุดคือคำยืนยันของพระนางมารีย์เองที่ว่า “ฉันคือผู้ปฏิสนธินิรมล” ( “I am the Immaculate Conception” ) ในการประจักษ์มาให้กับนักบุญ แบร์นาแดต สุบีรูส์ ที่เมืองลูร์ด ในปี ค.ศ. 1858 ซึ่งเกิดขึ้นเพียง 4 ปีหลังจากประกาศข้อความเชื่อนี้ในสมณโองการ “Ineffabilis Deus” เท่านั้นเอง เหมือนกับเป็นการประกาศความถูกต้องและยืนยันข้อความเชื่อข้อนี้ของพระศาสนจักร

“มนุษย์ทุกคนได้ทำบาปในอาดัม” (เทียบคำกล่าวของนักบุญเปาโลใน รม 5:12) ดังนั้น นักเทววิทยาของพระศาสนจักรในสมัยกลางบางคน เช่น อัลเซล์ม เบอร์นาร์ด อากวีนัส และโบนาเวนเชอร์ ได้คัดค้านความคิดเรื่องการปฏิสนธินิรมลว่าจะไปลดทอนความเชื่อที่ว่าพระเยซูคริสต์ทรงเป็นพระผู้ไถ่แห่งสากลจักรวาล พวกเขาได้กล่าวยืนยันว่า ถ้าพระนางมารีย์มิได้แปดเปื้อนด้วยมลทินใดๆของบาปกำเนิดเลย แม้เพียงช่วงระยะเวลาสั้นๆ ก็ตาม พระนางก็ไม่จำเป็นต้องการพระผู้ไถ่ก็ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ขัดกับหลักการอย่างชัดเจนเรื่องที่องค์พระผู้เป็นเจ้าได้เสด็จมาเพื่อช่วยมนุษยชาติทั้งหมดให้รอดพ้น ดังนั้น พวกเขาเต็มใจยอมรับเพียงว่า พระนางได้รับความศักดิ์สิทธิ์ขณะอยู่ในครรภ์ อย่างไรก็ตาม ข้อโต้แย้งนี้คงอยู่มาอีกไม่นาน หลังจากที่ John Duns Scotus นักเทววิทยาคณะฟรันซิสกันจากออกซ์ฟอร์ด ได้ค้านว่า ข้อความเชื่อนี้ไม่มีทางตรงข้ามกับข้อความเชื่อเรื่องการไถ่บาปของสากลจักรวาล เขาเห็นกลับกันในแบบที่ว่า “….พระนางมารีย์ มากกว่าใครอื่นที่จะได้รับผลของบาปกำเนิด…ถ้าพระหรรษทานของพระผู้เป็นองค์กลาง (the Mediator) จะไม่ปกป้องสิ่งนี้ไว้ ดังนั้น เฉกเช่นคนอื่นๆที่ต้องการพระคริสต์ผู้จะทรงมาลบล้างบาปกำเนิดให้สิ้นไปโดยทางฤทธิ์กุศลของพระองค์ พระนางมารีย์ย่อมจะทรงต้องการมากกว่าในพระผู้เป็นองค์กลางที่ทรงมาก่อนล่วงหน้า มิฉะนั้น ก็จะทรงได้รับผลของบาปกำเนิด และมิฉะนั้นจะทรงทำบาปได้” [ In 3 sent. 3.1, Per illud patet (Vives 14.171); cf. C. Balic, I.D. Scoti theologiae marianae elementa (Sibenik 1933) 35 ] ถ้าจะให้เข้าใจง่ายๆ คือ การสมโภชการปฏิสนธินิรมลของพระนางมารีย์เป็นเครื่องหมายโดยตรงถึงรุ่งอรุณแห่งพันธสัญญาใหม่ เป็นการฉลองการตระเตรียมด้วยพระทัยกรุณาของพระผู้เป็นเจ้า เพื่อให้ประชากรของพระองค์จะได้ต้อนรับพระผู้ไถ่ และองค์พระผู้เป็นเจ้าของพวกเขา

“วันทา มารีย์ เปี่ยมด้วยพระหรรษทาน พระเจ้าสถิตกับท่าน ผู้ได้รับพระพรกว่าสตรีใดๆ และพระเยซูโอรสของท่าน ทรงได้รับพระพรยิ่งนัก”

(ถอดความโดย คุณพ่อ วิชา หิรัญญการ จากหนังสือ Saint Companions For Each Day ; เขียนโดย A.J.M. Mausolfe และ J.K. Mausolfe)

วันที่ 3 ธันวาคม
ฉลองนักบุญฟรังซิส เซเวียร์ พระสงฆ์ องค์อุปถัมภ์ของมิสซัง

วันที่ 3 ธันวาคม ฉลองนักบุญฟรังซิส เซเวียร์ พระสงฆ์ องค์อุปถัมภ์ของมิสซัง

( St. Francis Xavier, Priest, memorial )

ความคิดที่ว่าในแผนการของพระเจ้าจะทรงทำให้ท่านได้กลายเป็นหนึ่งในบรรดานักบุญมิชชันนารีที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ตามแบบอย่างของนักบุญเปาโล อัครสาวก นั้นไม่เคยอยู่ในหัวขุนนางหนุ่มชาวบาสก์ (Basque) ผู้นี้เลย ท่านเพียงอยากเป็นนักการศึกษาและนักปรัชญาผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น หรือไม่ก็ประกอบอาชีพทางศาสนจักรให้กับบ้านเกิดของท่านที่ Navarre (Spain) ซึ่งบิดาของท่านเป็นประธานของสภาขุนนาง แต่เมื่อร่ำเรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยปารีสที่มีชื่อเสียง ท่านได้ถูกเกลี้ยกล่อมโดยนักบุญอิกญาซีโอ แห่งโลโยลา ซึ่งตลอดระยะเวลาสองปีที่อยู่ด้วยกันนั้น ได้เตือนท่านอย่างไม่หยุดหย่อนว่า “ประโยชน์อะไรที่จะได้ทั้งโลกเป็นกรรมสิทธิ์ แต่ต้องมาเสียวิญญาณไป”

ฟรังซิส เกิดเมื่อวันที่ 7 เมษายน 1506 บิดามารดาคือ Don Juan de Jassu และ Maria de Alpilcueta ท่านเป็นลูกคนที่ 2 ในจำนวนรวม 7 คน ได้ปฏิญาณเข้าเป็นคณะเยสุอิตรุ่นแรกเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 1534 รับศีลบวชเป็นพระสงฆ์เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 1537 และได้ถวายมิสซาแรกหลังจากจำศีลอย่างเคร่งครัดและเตรียมจิตใจอย่างดีเป็นเวลา 40 วัน หลังจากเจ็บไข้ได้ป่วยช่วงหนึ่งทำให้ต้องหยุดการเทศน์ที่เมืองโบโลญา อิตาลี และในขณะที่รับหน้าที่เลขาฯ ให้นักบุญอิกญาซีโอที่กรุงโรม ก็มีเสียงเรียกร้องจากกษัตริย์จอห์น ที่ 3 ของประเทศโปรตุเกสให้ส่งพวกมิชชันนารีเยสุอิตไปยังหมู่เกาะอินเดียตะวันออก (East Indies) เพียงแค่วันเดียวเท่านั้นที่ร้องขอมา ฟรังซิสได้ออกเดินทางพร้อมกับทูตโปรตุเกสข้ามภูเขาแอลป์และสเปนไปกรุงลิสบอนเป็นเวลา 3 เดือน และเริ่มเดินทางทางเรือ 11,000 ไมล์ ใช้เวลาถึง 13 เดือน เพราะต้องหยุดเดินเรือช่วงหน้าหนาวที่โมแซมบิค และในที่สุดเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 1542 ก็มาขึ้นฝั่งที่เมือง กัว (Goa) บนชายฝั่งด้านตะวันตกของอินเดีย ซึ่งเป็นศูนย์กลางกิจการของโปรตุเกศทางทิศตะวันออก ที่นี่ฟรังซิสสาละวนกับการเรียนภาษาท้องถิ่น เอาใจใส่และพยาบาลคนเจ็บไข้ เทศน์และสอนคำสอน

จากเมืองกัว ท่านได้ลงไปทางใต้ที่ Fishery Coast และใช้เวลา 2 ปีกับชาวประมงที่หาไข่มุก เรียนภาษาของพวกเขาและสอนพวกเขาอย่างเอาใจใส่เป็นหลายๆอาทิตย์ และหลายๆเดือนก่อนจะให้รับศีลล้างบาป ท่านใช้วิธีเล่าแบบนิทาน ซึ่งประสบความสำเร็จมาก เป็นที่เลื่องลือไปทั่วทุกหลังคาเรือน และเมื่อเด็กๆกับแม่ๆมารวมตัวกัน ท่านจะพาเข้าไปในวัดและอธิบายความเชื่อด้วยความอดทนอย่างยิ่ง และด้วยความร้อนรนที่เปี่ยมไปด้วยความรัก ท่านจะกล่าวว่า “ฉันจะให้พวกเขาเข้าไปทางของเขาเอง แต่ฉันเห็นเขากลับออกมาโดยทางของฉัน” ในกาลเวลาต่อมา ท่านจะกลับไปเยี่ยมภารกิจที่ท่านเริ่มไว้ โดยช่วงที่ท่านไปเทศน์ที่อื่นนั้น ได้มอบให้สงฆ์พื้นเมืองที่ได้รับการฝึกมาอย่างดีคอยดูแลงานอย่างต่อเนื่อง

ในปี 1544 จะพบฟรังซิสที่เกาะซีลอน (ศรีลังกา) จากที่นี่ท่านได้ไปมะละกา (Malacca) และไปหมู่เกาะเครื่องเทศ ไปโคชิน-ไชน่า และบ้างก็เชื่อว่าท่านไปถึงฟิลิปปินส์เลยทีเดียว หลังจากนั้น เมื่อได้พบกับชาวญี่ปุ่นที่หลบหนีมา ท่านก็รับอาสาเดินทางไปทำงานมิชชันนารีที่เกาะนั้น ขึ้นฝั่งที่ คาโกชิมา (Kagoshima) ทางภาคใต้ของญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 1549 ขวนขวายร่ำเรียนภาษา และแม้ถูกต่อต้านอย่างมากจากพระภิกษุทางพุทธของที่นั่น แต่การเทศน์ของท่านรวมทั้งมีอัศจรรย์หลายอย่างเกิดขึ้น ทำให้ทั้งฟรังซิสเอง และครูคำสอนที่ท่านฝึกไว้ช่วยเป็นครั้งคราวและประจำได้ประสบความสำเร็จในการทำให้คนมากมายเข้ามามีความเชื่อ จนว่าในช่วงเวลา 40 ปีจากนั้นมีชาวญี่ปุ่นมามีความเชื่อเป็นจำนวนถึง 400,000 คน

สิ่งที่ได้เห็นเกี่ยวกับอารยธรรมจีนในญี่ปุ่น ทำให้ฟรังซิสวางแผนจะไปประกาศพระวรสารที่นั่น ซึ่งเรียกว่า เป็นอาณาจักรต้องห้าม แต่พวกคนจีนที่สัญญาจะพาท่านลักลอบเข้าประเทศจีนที่ Canton ไม่ปรากฏตัว หลังจากรอคอยถึง 3 เดือนแต่ไม่เป็นผล ลมพัดพาท่านไปสู่เกาะแห่งหนึ่งในทะเลจีน ชื่อ Sancian island of Canton ท่านเป็นไข้และสิ้นใจที่นั่นเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 1552 ในปี 1553 พบว่าร่างของท่านไม่เน่าเปื่อย แม้จะฝังไป 2 เดือนแล้ว จึงได้นำร่างของท่านกลับไปที่เมืองกัว และยังได้รับการเคารพอยู่จนทุกวันนี้ที่ใน Bom Jesus Basilica อย่างไรก็ตาม แขนข้างขวาของท่านตัดจากตรงข้อศอกถูกนำไปที่โรมบรรจุไว้ที่วัดของคณะเยสุอิต (Church of the Gesu) โดยคำสั่งของอธิการใหญ่ของคณะเยสุอิตในขณะนั้น

ท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นบุญราศีในปี 1619 และได้รับการแต่งตั้งเป็นนักบุญเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 1622 โดยพระสันตะปาปาเกรโกรี ที่ 15

ในการทำงานแพร่ธรรม 10 ปีของนักบุญฟรังซิส เซเวียร์ ทำให้ท่านได้เดินทางเข้าไปในอาณาจักรต่างๆมากกว่า 50 แห่ง ทำให้คนกลับใจมาหาพระเจ้าเกือบล้านคน และได้วางรากฐานให้มั่นคงสืบมาในสนามแพร่ธรรมใหญ่ๆของเอเซียถึง 6 แห่งด้วยกัน ดังนั้น ท่านจึงได้รับสมญานามว่า “อัครสาวกของหมู่เกาะอินดิส” (Apostle of the Indies) และเป็นองค์อุปถัมภ์ของสมณกระทรวงเผยแผ่ความเชื่อ (the Propagation of the Faith) และประเทศมิสซังทั้งหมด

(ถอดความโดย คุณพ่อ วิชา หิรัญญการ จากหนังสือ Saint Companions For Each Day ; เขียนโดย A.J.M. Mausolfe และ J.K. Mausolfe)

วันที่ 30 พฤศจิกายน
ฉลองนักบุญอันดรูว์ อัครสาวก

วันที่ 30 พฤศจิกายน ฉลองนักบุญอันดรูว์ อัครสาวก

( St. Andrew Apostle, feast )

นักบุญอันดรูว์ ซึ่งชื่อภาษากรีกของท่านมีความหมายว่า “กล้าหาญแบบผู้ชาย” เป็นบุตรของโยนาห์ เป็นน้องของนักบุญเปโตร และทั้งคู่มีอาชีพเป็นชาวประมงของเมืองคาเปอรนาอุม อยู่ชายฝั่งทะเลสาบกาลิลี แรกเริ่มเขาเป็นศิษย์ของยอห์น บัปติสต์ เมื่อยอห์น บัปติสต์ชี้ไปที่พระเยซูเจ้าว่าเป็นพระเมสสิยาห์ เขาก็รีบกลับไปหานักบุญเปโตร และด้วยความเชื่อที่เปี่ยมล้น ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีคำเทศนาและอัศจรรย์มาทำให้เกิดความมั่นใจ ทั้งคู่ก็ได้กลับกลายเป็น “ชาวประมงจับมนุษย์” ตามที่พระคริสต์ทรงสั่ง จริงๆแล้ว ตามธรรมประเพณีของพวกไบซันไทน์สมัยแรกๆ (early Byzantine tradition) เรียกนักบุญอันดรูว์ว่า “protokletos” แปลว่า “เรียกครั้งแรก” หรือ “ถูกเรียกคนแรก” ( = “first called”) ให้เป็นอัครสาวกขององค์พระผู้เป็นเจ้า
.
ในการลำดับรายชื่ออัครสาวกที่หลากหลาย ชื่อของอันดรูว์จะอยู่ในลำดับที่สอง แสดงว่าท่านได้รับเกียรติในระหว่างบรรดาอัครสาวก ซึ่งเราเห็นเหตุการณ์จริงปรากฏชัดตอนที่มีชาวกรีกพวกหนึ่งมาขอฟิลิปให้พาไปพบและสนทนากับพระอาจารย์เจ้า ฟิลิปจึงไปบอกอันดรูว์ แล้วอันดรูว์กับฟิลิปก็ไปหาพระเยซูเจ้า (เทียบ ยน 12:20-22)
.
และเมื่ออันดรูว์ รวมทั้งเปโตร ยากอบ และยอห์น ได้เสาะหาเครื่องหมายของกาลเวลาเกี่ยวกับวันสิ้นโลก จึงเป็นเหตุให้องค์พระผู้เป็นเจ้าได้ทรงให้คำปราศรัยเรื่องอวสานกาล (eschatological discourse) ไว้ในพระวรสาร (เทียบ มก 13; มธ 24 ; ลก 21:8-36)
.
หลังการกลับฟื้นคืนพระชนมชีพของพระเยซูเจ้าแล้ว นักบุญอันดรูว์ได้ไปเทศน์พระวรสารในเอเซียไมเนอร์ฝั่งตะวันตก ( = ตุรกี) และให้พวก Scythians ท่านได้แต่งตั้ง St. Stachys ให้เป็นพระสังฆราชองค์แรกของไบเซนไทน์ แล้วนั้น ท่านเดินทางต่อไปทางตะวันตกถึงมาซิโดเนีย และประเทศกรีซ
.
นักบุญอันดรูว์ได้เป็นมรณสักขีในช่วงระหว่างการครองราชย์ของเนโรที่เมือง Patras เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 60 โดยถูกผูกโยงไว้ (มากกว่าจะถูกตอกตะปู) กับกางเขนที่เป็นรูปตัว X (ตั้งแต่นั้นมาเรียกกันว่า “กางเขนของนักบุญอันดรูว์”) ที่ทำเช่นนี้ เพื่อต้องการทรมานท่านนานๆ และก็เป็นจริง เป็นที่รับรู้กันว่าท่านยังคงเทศน์ให้ประชาสัตบุรุษต่อไปอีก 2 วัน กว่าจะสิ้นชีพ
.
ร่างของท่านถูกนำมาไว้ที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล (แคว้นไบเซนไทน์) และถูกฝังไว้ในวัดของบรรดาอัครสาวก (Church of the Apostles) ข้างเคียงกับของนักบุญทิโมธี และลูกา ในปี ค.ศ.1210 เมื่อพวกครูเสดยึดเมืองนี้ได้ พระธาตุของท่านถูกนำมาที่เมืองอมาลฟี(Amalfi) อยู่ทางใต้ของอิตาลี และได้รับความเคารพอยู่ที่นี่จนทุกวันนี้
.
นักบุญอันดรูว์เป็นองค์อุปถัมภ์ของประเทศรัสเซีย และสก็อตแลนด์ รวมไปถึงชาวประมงและสตรีผู้สูงอายุที่ครองตัวเป็นโสด (spinster)

(ถอดความโดย คุณพ่อ วิชา หิรัญญการ จากหนังสือ Saint Companions For Each Day ; เขียนโดย A.J.M. Mausolfe และ J.K. Mausolfe)

ข้อคิดข้อรำพึง สมโภชพระเยซูเจ้ากษัตริย์แห่งสากลจักรวาล ปี B

ข้อคิดข้อรำพึง สมโภชพระเยซูเจ้ากษัตริย์แห่งสากลจักรวาล ปี B

“ท่านพูดว่าเราเป็นกษัตริย์นั้นถูกต้องแล้ว”

เราเฉลิมฉลองสัปดาห์สุดท้ายของปีพิธีกรรมด้วยการสมโภชพระเยซูเจ้ากษัตริย์แห่งสากลจักรวาล พระวาจาของพระเจ้าในปี B นี้นำเสนอ พระคริสตเจ้า ในฐานะที่ทรงเป็นกษัตริย์ที่มีอำนาจปกครองที่คงอยู่ตลอดไปไม่มีวันสิ้นสุด (จากบทอ่านแรก –หนังสือประกาศกดาเนียล) และในฐานะประมุขของบรรดากษัตริย์ในแผ่นดิน พระองค์ทรงแต่งตั้งพวกเราให้เป็นกษัตริย์และสมณะเพื่อรับใช้พระเจ้า (บทอ่านที่สอง –หนังสือวิวรณ์) และในฐานะกษัตริย์ที่เป็นพยานถึงความจริง (พระวรสาร –นักบุญยอห์น)
 
พระคริสต์ทรงเป็นกษัตริย์ในหลายรูปแบบ เราเห็นภาพนี้ของพระองค์ในรูปแบบต่างๆ กัน นักบุญยอห์น ผู้นิพนธ์พระวรสารวาดภาพพระคริสต์ในฐานะที่ทรงเป็นกษัตริย์ที่เป็นพยานถึงความจริง
 
นักประพันธ์ผู้มีชื่อเสียงชาวรัสเซียที่ชื่อ ดอสทอยเยฟสกี (Dostoyevsky) ครั้งหนึ่งเคยกล่าวไว้ว่า “ฉันเชื่อว่าไม่เพียงแต่ไม่เคยมีใครเป็นเหมือนพระเยซูคริสตเจ้าในอดีต แต่จะไม่มีใครเป็นเหมือนพระองค์ได้อีกเลย”
 
มีเรื่องเล่าว่ามีนักท่องเที่ยวผู้หนึ่ง เดินตกลงไปในทรายดูดโดยไม่รู้ตัว มีคนเดินผ่านมาคนหนึ่งมองเห็นเขากำลังดิ้นรนต่อสู้ จึงพูดกับตัวเองว่า “เขาน่าจะรู้ดี และอยู่ห่างจากสถานที่อันตรายนั้น” ต่อมาสักครู่ ชายอีกคนหนึ่งเดินผ่านไป มองเห็นชายที่กำลังจะจมลงจึงพูดอย่างแข็งขันว่า “ขอให้ชะตากรรมของชายคนนี้เป็นบทเรียนสำหรับคนอื่นๆ ในโลกที่เหลืออยู่ ว่าการก้าวลงไปในทรายดูดเท่ากับก้าวลงไปสู่กับดักแห่งความตายที่ไม่มีวันหนีรอดไปได้”จากนั้นชายคนที่สามเดินผ่านมา เขาพูดกับชายที่กำลังจะจมว่า “เสียใจด้วย นี่เป็นพระประสงค์ของพระเจ้าสำหรับคุณ”
ในที่สุด พระเยซูเจ้าเสด็จผ่านมา ทรงพระดำเนินเข้าไปใกล้ในระยะที่ปลอดภัย ยื่นพระหัตถ์ของพระองค์ออกไปตรัสว่า “อย่ากลัวเลย จับมือฉันไว้ และฉันจะช่วยเธอให้รอด” และนั่นคือสิ่งที่ทรงปฏิบัติจริง พระองค์เคยตรัสว่า “ฉันจะอยู่กับพวกท่านเสมอ แม้กระทั่งในวาระสุดท้าย” (Fr.James Valladares: Your Words, O Lord, are Spirit, and They are Life –Year B.)
 
จริงอยู่ พระเยซูเจ้าทรงเป็นจุดศูนย์กลางและจุดสูงสุดของสิ่งสารพัดที่พระเจ้าทรงสร้างขึ้นมา พระองค์มิได้ทรงเป็นแค่กษัตริย์ของชาวยิวเท่านั้นตามที่ปิลาตถาม แต่ยิ่งใหญ่กว่านั้นมาก ทรงเป็นกษัตริย์แห่งสากลจักรวาลทีเดียว ถ้าในที่สุดแล้วปิลาตได้รู้ความจริงว่าพระองค์ทรงเป็นใครแล้ว เขาจะต้องตกใจมากทีเดียว อาณาจักรโรมันที่ว่ายิ่งใหญ่แล้ว ยังไม่เทียบเท่าเถ้าธุลีแห่งระบบสากลจักรวาลอันยิ่งใหญ่เกรียงไกรที่แท้จริง
 
ถ้าอย่างนั้น เรามนุษย์ตัวเล็กกระจิริด จะเข้าถึงพระองค์ได้อย่างไร ตัวเล็กยังไม่พอ ยังเต็มไปด้วยรอยแผลแห่งบาปนานาชนิด แล้วเราจะทำอย่างไร
 
ไม่ต้องทำอะไรหรอกครับ ทรงทำทุกอย่างเพื่อเราอยู่แล้ว จากเรื่องตัวอย่างข้างบน จะเห็นว่าทรงยื่นพระหัตถ์มาช่วยเรา ทรงนับเราเป็นมิตรสหาย อีกประการหนึ่ง อาณาจักรของพระองค์เป็นเรื่องเกี่ยวกับความจริงและชีวิต เป็นเรื่องของความศักดิ์สิทธิ์ และพระหรรษทาน เป็นเรื่องของความยุติธรรม ความรัก และสันติภาพ แม้เราจะเป็นเช่นไร ก็มิทรงคำนึง พระคริสต์ผู้ทรงรักเราเป็นอย่างมากได้มอบพระองค์เอง ยอมรับทนทรมาน และยอมแม้กระทั่งรับความตาย เพื่อให้เรามีชีวิต นี่เป็นการพิสูจน์อย่างชัดแจ้งว่า ทรงเป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด เพราะทรงความรักครอบจักรวาล

(คุณพ่อ วิชา หิรัญญการ เขียนลงสารวัดนักบุญยอแซฟ อยุธยา เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2012)

ข้อคิดข้อรำพึง สมโภชพระเยซูเจ้ากษัตริย์แห่งสากลจักรวาล ปี B

พระคริสตเจ้าจะต้องครองราชย์เหนือชีวิตเรา

มีเรื่องเล่าว่า ทหารอเมริกันคนหนึ่งได้นั่งรถบัสท่องเที่ยวในประเทศสวีเดน เขาได้คุยให้ชายคนที่นั่งข้างๆเขาฟังว่า “อเมริกาเป็นประเทศที่มีความเป็นประชาธิปไตยมากที่สุดในโลก ที่นั่น คนธรรมดาๆสามารถเข้าไปที่ทำเนียบขาวเพื่อพบกับประธานาธิบดี และพูดคุยเรื่องต่างๆกับท่านได้” ชายที่นั่งข้างๆเขาตอบกลับว่า “นั่นแค่เรื่องเล็กน้อย ในสวีเดนกษัตริย์และประชาชนสามารถเดินทางด้วยรถบัสคันเดียวกันได้” เมื่อชายคนนั้นลงจากรถบัสไปแล้ว ชาวอเมริกันคนนั้นได้รับการบอกกล่าวว่าบุคคลที่นั่งใกล้กับเขา คือ กษัตริย์ กุสตาฟ อดอล์ฟ ที่ 6
.
ดังนั้น เราต้องอย่าลืมว่า พระเยซูคริสตเจ้า พระบุตรของพระเจ้า กษัตริย์ของชาวเรา ทรงรับเอาร่างกาย และมาดำรงชีวิตท่ามกลางเรา ไม่มีความรักใดยิ่งใหญ่ไปกว่านี้อีกแล้ว
.
เพื่อจะได้เข้าใจการสมโภชพระเยซูคริสตเจ้า กษัตริย์แห่งสากลจักรวาล ให้เราย้อนกลับไปในปี 1925 คือหลายปีต่อมาเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้สิ้นสุดลง พระสันตะปาปาปีโอที่ 11 (Pope Pius XI) ได้ทรงพิจารณาสถานการณ์ความเป็นไปทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุโรป และพระองค์ทรงกังวลต่อสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น มุสโสลินีกำลังปลุกระดมคนทั่วอิตาลีอย่างหยิ่งผยอง ชายที่ชื่อว่า ฮิตเลอร์ จากประเทศเยอรมนีเพิ่งถูกปล่อยตัวจากคุก และพรรคการเมืองที่น่ากลัวของเขากำลังเข้มแข็งขึ้น แนวคิดเรื่องศาสนาไม่ควรมีอิทธิพลต่อการเมืองที่กำลังเพิ่มมากขึ้น คริสตชนมากมาย และแม้แต่คาทอลิกสงสัยในฤทธิ์อำนาจของพระคริสต์ และพระศาสนจักร และแม้แต่สงสัยไปถึงขั้นว่าพระคริสต์ทรงเป็นอยู่จริงหรือเปล่า คาทอลิกจำนวนมากละทิ้งความเชื่อไปติดตามผู้นำทางด้านการเมืองต่างๆ
.
พระสันตะปาปาได้ทรงตระหนักว่าต้องมีเครื่องหมาย หรือสัญลักษณ์บางอย่างที่จะเตือนประชาชนว่าชีวิตเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร และพวกเขาแท้จริงแล้วเป็นคนของผู้ใด พระองค์จะทรงเลือกอะไรดี ที่สุดทรงใช้คำที่มีความหมายแพร่หลายว่า “กษัตริย์” – พระคริสตเจ้าทรงเป็นกษัตริย์ และพระองค์จึงทรงตั้งวันสมโภชนี้ขึ้นในพระศาสนจักรสากลจากสมณลิขิตที่ชื่อว่า “Quas Primas”
.
ต้องถือว่าพระองค์ทรงเลือกได้อย่างชาญฉลาด เพราะว่าจะไม่มีสิ่งใดที่สามารถเปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่างได้มากไปกว่านี้แล้ว พระเยซูเจ้ามิได้ทรงให้ผู้คนมาโค้งคำนับพระองค์ ตรงข้าม ทรงก้มลงและล้างเท้าให้พวกเขา พระองค์ไม่ทรงมีกองทัพ มีแต่บรรดาอัครสาวก ไม่ประทับนั่งบนบัลลังก์แต่นั่งบนหลังลูกลา ไม่ทรงสวมมงกุฎทองแต่เป็นมงกุฎหนาม พระองค์ไม่ทรงรับเอาชีวิตคนอื่น แต่ทรงมอบชีวิตเพื่อผู้อื่น พระองค์ไม่ทรงกำหนดขอบเขต แต่ทรงรวมคนบาป คนเก็บภาษี และบรรดาขโมยทั้งหลายเข้ามาอยู่ในอาณาจักรของพระองค์ด้วย พระองค์ไม่ทรงเอาประโยชน์จากประชาชน แต่ได้ตรัสอย่างเห็นอกเห็นใจต่อพวกแม่ม่าย ลูกนอกคอก ชาวสะมาริตันที่ใจดี และชาวไร่ชาวนาที่ยากจน พระองค์ไม่ทรงบังคับ แต่ทรงเชื้อเชิญ พระคริสต์ผู้ทรงเป็นกษัตริย์ไม่สนพระทัยต่อมงกุฎ พระราชวัง หรือเสื้ออาภรณ์ ตรงข้าม ทรงสนพระทัยต่อสิ่งที่ตอบคำถามพื้นฐานได้ ว่าเราจะมอบความจงรักภักดีของเราให้กับใคร หรือให้กับอะไรมากกว่า
.
วันสมโภชนี้มีบทสอนอะไร สอนว่าต้นกำเนิดของวันสมโภชนี้เกิดขึ้นในห้วงเวลาที่ความเคารพต่อพระคริสต์และพระศาสนจักรลดน้อยถอยลง จริงๆแล้ววันสมโภชนี้ก็ยังจำเป็นสำหรับเวลาในปัจจุบันนี้ เพราะต้นตอปัญหาเหล่านี้ยังไม่หมดไป กลับแย่ลงไปกว่าเดิมด้วยซ้ำ เรากำลังมองเห็นสภาพเงื่อนไขในปัจจุบันที่มีความขัดแย้งกันระหว่างชาติต่างๆ การขู่เข็ญถึงสงครามใหม่ๆ ผู้นำที่คอร์รัปชัน ผู้คนที่เต็มไปด้วยความโลภ ความเป็นปัจเจกบุคคล การก่อการร้าย และศีลธรรมที่ตกต่ำ
.
ในการสมโภชพระเยซูเจ้า กษัตริย์แห่งสากลจักรวาลนี้ เราต้องตั้งใจให้พระคริสตเจ้าทรงครองราชย์เหนือชีวิตของเรา
(คุณพ่อวิชา หิรัญญการ แปลเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน ค.ศ.2018
 
จากหนังสือ The Table of the Word, by Fr. John Pichappilly)

ฉลองวัดนักบุญเซซีลีอา ห้วยต้นนุ่น

ฉลองวัดนักบุญเซซีลีอา ห้วยต้นนุ่น

20-21 พฤศจิกายน 2024

ภาคเช้าผมร่วมการประชุมผู้บริหารโรงเรียนของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ที่โรงเรียนยอแซฟอุปถัมภ์ สามพราน มีผู้บริหารประมาณ 70 คน เวลา 8:45 น -12:30 น.
 
ไปดอนเมือง เพื่อเดินทางกลับไปเชียงใหม่ จากเชียงใหม่ เวลา 17.30 น. เดินทางต่อไปถึงวัดนักบุญเซซีลีอา บ้านห้วยต้นนุ่น ประมาณ 22:45 น.
 
ตามปกติเราฉลองนักบุญเซซีลีอา ทุกวันที่ 22 พฤศจิกายน แต่ผมขอ คุณพ่อทูน ประภาสสันต์ เจ้าอาวาส ให้เลื่อนมาฉลองวัด ในวันพฤหัสบดี ที่ 21 พฤศจิกายน เพื่อความสะดวก
 
9:00 น. เริ่มขบวนแห่จากหน้าบ้านโมโด่ะปรีดา
– มีนักเรียน และเยาวชน ประมาณ 65 คน รับศีลกำลัง ผมจึงมีโอกาสคุยกับพวกเขา 20 นาทีก่อนมิสซา
– มีนักเรียนประมาณ 16 คน เต้นประกอบเพลงเลาดาโตซี
 
9.30 น.เริ่มพิธีมิสซา
 
นอกจากชาวบ้านของเรา ยังมีชาวบ้านเมียนมา 18 คน เดินทาง 2 ชั่วโมง มาร่วมฉลองวัด ร้องเพลงหลังมิสซา 1 เพลงด้วย พวกเขาขอให้ถวายมิสซา เพื่อสันติภาพในประเทศ ผมเดินทางกลับอีก 5 ชั่วโมง ถึงเชียงใหม่ 18:00 น.
 
ชาวบ้านห้วยต้นนุ่น มีความสามัคคี ช่วยจัดงานฉลองวัด มีวัดสาขา 9 แห่ง มีกระแสเรียกเป็นพระสงฆ์ นักบวชดี
 
ชีวิตเป็นการเดินทางจริงๆ

(ฟ.วีระ อาภรณ์รัตน์)

22 พฤศจิกายน ระลึกถึง นักบุญเซซีลีอา พรหมจารีและมรณสักขี

22 พฤศจิกายน ระลึกถึง นักบุญเซซีลีอา พรหมจารีและมรณสักขี

( St. Cecilia, Virgin & Martyr, memorial )

นักบุญเซซีลีอา เกิดในตระกูลขุนนางในโรม ประมาณปลายศตวรรษที่ 2 ภายใต้สมัยจักรพรรดิ อเล็กซานเดอร์ เซเวรุส ได้ถูกอบรมเลี้ยงดูแบบคริสตชน ตั้งแต่ยังเยาว์วัย เธอตัดสินใจจะเป็นโสดเพื่อเห็นแก่ความรักของพระเจ้า เธอได้จำศีล อดอาหาร ทำกิจใช้โทษบาปต่างๆ และกิจการกุศล แต่พ่อแม่เธอวางแผนการอื่นไว้สำหรับเธอ คือ จะให้เธอแต่งงานกับหนุ่มขุนนางชื่อ วาเลเรียน

ในตอนเย็นของวันแต่งงาน ขณะที่เพลงแต่งงานยังคงก้องดังอยู่ในหูของเธอ เธอรื้อฟื้นคำปฏิญาณว่าเธอจะเป็นพรหมจารีถวายแด่พระเจ้า เมื่อจะต้องเข้าเรือนหอ เธอรวบรวมความกล้าบอกกับเจ้าบ่าว “ฉันมีความลับจะบอกเธอ ฉันมีเทวดาของพระเจ้าเฝ้ามองฉันอยู่ ถ้าคุณสัมผัสฉันแบบชู้สาว เขาจะโกรธและคุณจะโชคร้าย แต่ถ้าคุณเคารพความเป็นพรหมจารีของฉัน เขาจะรักคุณเหมือนที่เขารักฉัน”

วาเลเรียน เป็นผู้ดี ยินยอมตามคำบอกของเซซีลีอา ถ้าเธอจะแสดงให้เขาเห็นเทวดา เธอตอบว่า “ถ้าคุณเชื่อในพระเจ้าเที่ยงแท้ผู้ทรงดำรงอยู่แต่เพียงผู้เดียว และรับศีลล้างบาป คุณก็จะเห็นเทวดา”

วาเลเรียนยอมตามนั้น เธอส่งเขาไปหาพระสังฆราช อูร์บัน (Urban) ซึ่งล้างบาปให้เขา เมื่อเขากลับมาจะแจ้งข่าวกับเธอ เขาต้องตกตะลึงเมื่อเห็นเธอสนทนาอยู่กับเทวดา เทวดามาหาเขาและวางพวงดอกไม้กุหลาบและลิลลี่เหนือศรีษะของทั้งสอง วาเลเรียนมีความเลื่อมใสจนว่าภายในไม่กี่วันต่อมา เขาและน้องชายเขาชื่อ ธิบูร์ซีอุส (Tiburtius) ซึ่งเขานำมาสู่ความเชื่อเช่นเดียวกับเขา เป็นพยานยืนยันความเชื่อโดยยอมเป็นมรณสักขี ทั้งคู่ถูกตัดศรีษะโดย อัลมาชิม (Almachim) ซึ่งเป็นผู้ว่าราชการตอนนั้น เซซีลีอาให้ฝังศพของทั้งสองไว้ และถึงเวรเธอที่จะยืนยันความเชื่อ เธอตอบคำขู่ของผู้ว่าราชการว่า “ท่านไม่รู้หรือว่า ฉันเป็นเจ้าสาวขององค์พระเยซูคริสต์ของฉัน” เธอถูกตัดสินให้ตายโดยต้มลงในหม้อน้ำเดือด แต่เธอยังคงมีชีวิตต่อไปอีก 1 วันและ 1 คืน แม้ถูกกดจมลงไปในน้ำที่เดือด ถูกนำขึ้นมาโดยไม่ได้รับบาดเจ็บ ต่อมาถูกจามด้วยขวานที่ศีรษะและบริเวณอก เลือดไหลออกมาเป็นเวลา 3 วัน เธอภาวนาและให้กำลังใจคนที่มาเยี่ยมเยียนเธอ และที่สุดจากไปโดยขับร้องสรรเสริญพระเจ้า

ตามตำนานกล่าวไว้ด้วยว่า เธอได้ขับร้องเพลงในวันที่กำหนดให้เธอแต่งงานด้วย เพื่อขอความช่วยเหลือจากพระเจ้าในช่วงเวลาแห่งความยากลำบาก และดังนั้นเธอจึงได้รับการยกย่องให้เป็นองค์อุปถัมภ์ดนตรีศักดิ์สิทธิ์

(ถอดความโดย คุณพ่อ วิชา หิรัญญการ จากหนังสือ Saint Companions For Each Day ; เขียนโดย A.J.M. Mausolfe และ J.K. Mausolfe)

ทีมแนวหน้าแบ่งปันน้ำใจ ช่วยเหลือชุมชนชายแดนริมสาละวิน

ทีมแนวหน้าแบ่งปันน้ำใจ ช่วยเหลือชุมชนชายแดนริมสาละวิน

วันที่ 16 พ.ย. 2567

ทีมแนวหน้า ประกอบด้วยพ่อติดคำ, คุณพ่อธนิช, ครูจงดี, คุณสุนทร, คุณคูทอง บุตรสาวครูทอง, คุณเรย์มอน และคุณเสกา ออกเดินทางจากวัดนักบุญเปาโล แม่สะเรียงเวลาตี 5 มุ่งหน้าไปบ้านแม่สามแลป ระยะทาง 45 กม. ไปถึงริมแม่น้ำสาละวินเวลา 6 โมงเช้า ทีมแนวหน้าได้นั่งเรือหางยาวจากแม่สามแลปไปบ้านต่าเจท่า ใช้เวลานั่งเรือประมาณ 1 ชั่วโมง 15 นาที เมื่อเรือแล่นเข้าเทียบฝั่งในฝั่งเมียนมา มองเห็นเด็ก ๆ และแม่บ้านมายืนรอที่ริมฝั่งแม่น้ำ
.
เด็ก ๆ มาช่วยยกกล่องมาม่าและขนมปี๊ป ส่วนผู้ช่วยใหญ่ช่วยขนกล่องผ้าห่มและปลากระป๋อง เพื่อทำอาหารเลี้ยงเด็ก ๆ และชาวบ้าน แต่ระยะทางจากริมแม่น้ำที่เรือจอด ต้องเดินเข้าไปในหมู่บ้านอีก 2 กม. ซึ่งใช้เวลาเดินเท้าตามลำห้วยประมาณ 30 นาที
.
ของที่นำติดตัวมาทั้งหมดถูกรวมไว้ที่โรงเรียนไม้ไผ่ ซึ่งเป็นโรงเรียนเด็กอนุบาล มีเด็ก 50 คน และครูผู้หญิง 1 คน
.
เด็ก ๆ เดินทางมารอรับขนมที่ริมแม่น้ำสาละวิน แต่ผู้ใหญ่บอกให้เด็ก ๆ มากินที่โรงเรียน เมื่อมาถึงโรงเรียนไม้ไผ่ ทีมแนวหน้าแจกขนมให้เด็ก ๆ กินรองท้องก่อน ส่วนพ่อธนิชและแม่บ้านช่วยกันต้มมาม่า พ่อบ้านหาฟืนก่อไฟเพื่อผัดมาม่ากับกะหล่ำปลีสำหรับเลี้ยงอาหารเที่ยง เมื่อถึงเวลา ทุกคนรวมตัวกันรับประทานมาม่าผัดอย่างเต็มที่
.
หลังรับประทานอาหารเสร็จ ได้แจกผ้าห่มครอบครัวละ 2 ผืน และปลากระป๋องครอบครัวละ 3 กระป๋อง ในศูนย์พักพิงแห่งนี้มีทั้งหมด 28 ครอบครัว
.
จากการสอบถามผู้นำที่ดูแล ทราบว่า 28 ครอบครัวนี้ย้ายมาเมื่อเดือนมีนาคม 2567 หมู่บ้านเดิมของพวกเขาอยู่ลึกเข้าไป ต้องเดินข้ามดอยและใช้เวลาเดินประมาณ 1 วันครึ่ง แม่บ้านบอกว่าอยากกลับบ้าน เพราะเป็นห่วงไร่นา แต่ยังกลับไม่ได้เพราะสถานการณ์ไม่ปลอดภัย
.
การมาอยู่ที่นี่เป็นเพียงการพักพิงชั่วคราว ไม่สามารถปลูกผักได้ หน้าฝนมีเพียงหน่อไม้ไผ่ให้เก็บกิน อาหารที่มีคือข้าวสารและปลาแห้งที่ได้รับบริจาค เสื้อผ้าทั้งหมดที่สวมใส่ได้มาจากการบริจาค (ผู้ชายที่เป็นหัวหน้าครอบครัวเล่าให้ฟัง)
.
ขนมปี๊ปและปลากระป๋องที่เหลือถูกมอบให้ครูผู้หญิงที่สอนเด็กเล็กทั้ง 50 คน ก่อนที่ทีมแนวหน้าจะเดินทางกลับ
.
การเดินทางของทีมแนวหน้าครั้งนี้ แม้จะมีความกังวลเรื่องความปลอดภัย ทั้งจากแม่น้ำสาละวินที่ยังมีน้ำมากและไหลเชี่ยวในบางช่วง และการเดินเท้าในพื้นที่ฝั่งโน้นที่มีเรื่องราวแปลกประหลาดหลายอย่าง แต่พวกเรามีความเชื่อว่าพระเจ้าร่วมเดินทางกับพวกเราและชาวบ้านที่ยากไร้ ทำให้ความกลัวและความกังวลหายไป โดยเฉพาะเมื่อพวกเราได้พบกับเด็ก ๆ ที่ได้รับอาหาร พวกเราหายกลัวและเหนื่อย ขอขอบคุณพระเจ้าและพระคุณเจ้าวีระ อาภรณ์รัตน์ ที่มอบงบประมาณสำหรับการเดินทางและการจัดซื้ออาหารและผ้าห่มในครั้งนี้ พวกเราทีมแนวหน้าเป็นเพียงสะพานบุญเท่านั้น