คงจะไม่มีสถาบันด้านมนุษยธรรมใดๆอาจเข้ามาทดแทน
ความเมตตาเอื้ออาทรที่เกิดจากหัวใจของตัวมนุษย์เองได้
Seminar on the Ethics of Health, 1st October 2018 (ANSA)
ในคำปราศรัยต่อผู้เข้าร่วมประชุมสัมมนาครั้งที่ 4 หัวข้อ จริยธรรมของผู้ให้บริการสุขภาพอนามัย สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสทรงเน้นถึงความสำคัญในการสร้างความสัมพันธ์ล้ำลึกระหว่างผู้ให้บริการและผู้ป่วย(โดยฟรานเชสกา แมร์โล)
สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสใช้คำศัพท์ 3 คำเป็นพื้นฐานในการอธิบาย คือ อัศจรรย์ การเอาใจใส่ดูแล และความไว้วางใจ สามคำนี้มีค่ามากในโลกที่เกี่ยวกับสุขภาพอนามัยโดยทั่วไปและ “โดยเฉพาะอย่างยิ่งในลาตินอเมริกากำลังตกอยู่ในยุคที่เต็มด้วยวิกฤตเศรษฐกิจ” พระสันตะปาปาตรัส
ความเป็นพี่เป็นน้องกันบนใบหน้าของมนุษย์ทุกคน
สำหรับคำแรก “อัศจรรย์” พระสันตะปาปาตรัสว่า “ผู้ที่รับผิดชอบสถาบันคงจะบอกพ่อได้และคงบอกอย่างน่าเสียดายว่าเราไม่สามารถทำอัศจรรย์ได้” แต่พระองค์อธิบายว่า อัศจรรย์ไม่ได้หมายถึงทำสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ อัศจรรย์คือการมองไปยังคนป่วย คนที่ช่วยตัวเองไม่ได้ และมองว่าเขาเป็นพี่เป็นน้องของตัวเราเอง
พระสันตะปาปาฟรังซิสอธิบายว่า “เราถูกเรียกร้องให้ต้องยอมรับคุณค่าอันยิ่งใหญ่แห่งศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ของทุกคนเพราะมนุษย์คือบุตรของพระเจ้า” ประเด็นนี้คงไม่สารมารถเกิดขึ้นได้ในทุกซอกทุกมุมของสังคม แต่สามารถ “เบิกหนทางสู่การเปลี่ยนแปลงได้” ในจิตใจและในสังคมของเรา
คุณค่าของการให้ความรัก และการรับความรัก
คำที่สองคือ “การดูแลเอาใจใส่” เหตุว่าการรักษาผู้ป่วยไม่เพียงแต่หมายถึงการใช้ยารักษาเท่านั้น “เราต่างทราบกันดีว่าเมื่อผู้ใดป่วยหนักใกล้เสียชีวิตมีความสงบท่ามกลางเพื่อนฝูงที่คอยดูแล พวกเขาก็จะรู้สึกว่าได้รับความเอื้ออาทร” แม้ในกรณีที่มีปัญหายุ่งยากต่างๆ ขณะที่คนใกล้ตายมีความรู้สึกถึงความรัก การได้รับความเคารพ และการยอมรับดังกล่าว คุณค่าแห่งความเป็นมนุษย์ของเขาจะกลายเป็นความสามารถที่จะให้ความรักและรับความรัก ซึ่งไม่ใช่เป็นผลที่เกิดจากตัวเขาเอง”
ชีวิตของคนหนึ่งอยู่ในกำมือของอีกคนหนึ่ง
คำสุดท้ายคือ “ความไว้วางใจ” ตัวอย่างแรกของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสคือ “ความไว้ใจที่ผู้ป่วยมีในตัวตนเองว่าเขาจะต้องมีอาการดีขึ้น”ซึ่งไม่ใช่เรื่องเล็กเลยที่ผู้ให้บริการพยาบาลต้องสามารถสร้างบรรยากาศแห่งความสงบ สันติสุข และสภาพแวดล้อมที่น่าเชื่อถือไว้วางใจได้
“การปล่อยตัวท่านเองให้อยู่ในกำมือของคนอื่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะที่ชีวิตท่านกำลังตกอยู่ในอันตรายเป็นเรื่องที่ยากมาก” พระสันตะปาปาฟรังซิสยังตรัสถึงความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์และคนไข้จะต้องมีพื้นฐานอยู่ในความรับผิดชอบและความซื่อสัตย์เสมอ
การนำความหวังไปสู่บุคคลที่มีความต้องการมากที่สุด
“เราต้องต่อสู้เพื่อรักษาความสัมพันธ์อันล้ำลึกนี้ไว้” พระสันตะปาปาตรัส “ไม่มี สถาบันทางด้านมนุษยธรรมใดๆ สามารถเข้ามาแทนหัวใจมนุษย์และความเห็นอกเห็นใจของมนุษย์เองได้” นี่เป็นคำพูดของพระสันตะปาปานักบุญยอห์น ปอล ที่ 2
สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสทรงสรุปด้วยการขอร้องให้ทุกคนต้องเป็นผู้นำความหวังและความสุขไปสู่ครอบครัวให้มากที่สุดซึ่งบางครอบครัวอาจไม่มี่สิ่งเหล่านี้เลย
(วิษณุ ธัญญอนันต์ – เก็บเรื่องนี้มาเพื่อการไตร่ตรอง)