Skip to content

ศีลมหาสนิท – บูชามิสซาขอบพระคุณ: บทพระสิริรุ่งโรจน์ และ บทภาวนาเปิด
‘ขอให้จารีตพิธีสามารถกลายเป็นโรงเรียนแท้จริงแห่งการสวดภาวนาสำหรับพวกเรา’

วันพุธที่ 10  มกราคม ค.ศ. 2018

 

นครรัฐวาติกัน – วันพุธที่ 10 มกราคม ค.ศ. 2018 การเข้าเฝ้าทั่วไปกับพระสันตะปาปาฟรังซิสกำหนดไว้เป็นเวลา 9.25 น. ณ ห้องประชุมใหย่ เปาโล ที่6 ซึ่งสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสเสด็จไปพบกลุ่มผู้แสวงบุญและสัตบุรุษชาวอิตาเลียนและที่มาจากทั่วโลก

ในคำปราศรัยที่เป็นภาษาอิตาเลียนสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสยังทรงสอนคำสอนต่อไปเกี่ยวกับ พิธีบูชามิสซาขอบพระคุณ  ครั้งนี้พระองค์ทรงชวนให้รำพึงถึงบทเพลง บทพระสิริรุ่งโรจน์และบทภาวนาเปิดพิธี

        หลังจากที่ได้สรุปคำสอนเป็นหลายภาษาแล้วสมเด็จพระสันตะปาปาเสด็จไปต้อนรับทุกคนที่อยู่ ณ ที่นั้น

การเข้าเฝ้าจบลงด้วยการขับร้องบทเพลง ข้าแต่พระบิดาของข้าพเจ้าทั้งหลายตามด้วยการอวยพรของสมเด็จพระสันตะปาปา

* *

คำสอนของสมเด็จพระสันตะปาปา
อรุณสวัสดิ์พี่น้องชายหญิงที่รักทั้งหลาย

        ในการเรียนคำสอนที่แล้วมาเกี่ยวกับการเฉลิมฉลองศีลมหาสนิท หรือพิธีบูชามิสซา เรามีการไตร่ตรองกันเกี่ยวกับการสำนึกถึงบาปซึ่งช่วยให้เราสำรวมตนและแสดงตนต่อพระเจ้าอย่างที่เราเป็น การสำนึกตนเองว่าเป็นคนบาปโดยหวังว่าจะได้รับการอภัย

ความจริงความกตัญญูทีเราแสดงออกในบทเพลง “พระสิริรุ่งโรจน์” ที่เข้ามาในชีวิตของเรานั้นเกิดจากการสัมผัสระหว่างความน่าสงสารของมนุษย์และพระเมตตาของพระเจ้า  ซึ่งเป็น “บทเพลงเก่าแก่ที่ได้รับความเคารพซึ่งพระศาสนจักรที่รวบรวมกันในพระจิตถวายการสรรเสริญพร้อมกับการวิงวอนต่อพระบิดาและพระชุมพา” (Ordinamento General del Messale Romano, 53)

บทเพลงนี้เริ่มต้นด้วย “พระสิริรุ่งโรจน์แด่พระเจ้าในสรวงสวรรค์”  เป็นการนำเอาบทเพลงของทูตสวรรค์ที่ขับร้องด้วยความชื่นชมยินดีในการบังเกิดของพระเยซูคริสต์ ที่เบ็ธเลแฮม และเป็นการประกาศถึงความเชื่อมโยงระหว่างสวรรค์กับโลกมนุษย์ บทเพลงนี้ยังหมายถึงตัวเราด้วยซึ่งสำรวมตนในการสวดภาวนาว่า พระสิริรุ้งโรจน์จงมีแด่พระเจ้าในสรวงสวรรค์ และสันติสุขจงมีแด่มนุษย์ผู้มีน้ำใจดี” หลังเพลง “พระสิริรุ่งโรจน์”  หรือ บางครั้งไม่มีการร้องเพลงบทนี้ หลังพิธีกรรมอภัยบาปบทสวดที่ตามมาจะมีลักษณะพิเศษที่เรียกว่า “ภาวนาเปิดพิธี – Collect” ซึ่งแสดงถึงคุณลักษณะจำเพาะแห่งการเฉลิมฉลองที่แตกต่างกันออกไปตามวันและเวลาของปี (เทียบ Ibid. 54)  เมื่อบาทหลวงกล่าวเชิญ “ให้เราภาวนา” บาทหลวงเตือนสัตบุรุษให้สำรวมตนพร้อมกับบาทหลวงแล้วยกจิตขึ้นในช่วงเวลาเงียบสั้นๆเพื่อที่จะได้ตระหนักว่าเรากำลังอยู่ต่อหน้าพระพักตร์พระเจ้าพร้อมกับยกจิตใจขึ้นหาพระองค์แจ้งความประสงค์ส่วนตัวที่ตนเข้ามาร่วมถวายบูชามิสซาขอบพระคุณ (เทียบ Ibid. 54) บาทหลวงกล่าว “ให้เราภาวนา” จากนั้นก็เป็นเวลาแห่งความเงียบครู่หนึ่ง แต่ละคนคิดถึงสิ่งที่ตนมีความต้องการและสิ่งที่ตนอยากวิงวอนขอในคำภาวนา

ในช่วงที่เงียบนั้นใช่ว่าจะไม่มีการสวดภาวนาก็หาไม่ แต่เป็นการสำรวมใจฟังเสียงต่างๆที่มาจากใจโดยเฉพาะย่างยิ่งเสียงขอพระจิตซึ่งเกิดขึ้น “ในช่วงเวลาแห่งพิธีอภัยบาปและการเชิญให้เราภาวนาซึ่งช่วยให้เราสำรวม  ความเงียบหลังบทอ่านและบทเทศน์จะช่วยให้เรารำพึงสั้นๆถึงสิ่งที่เราได้ฟัง และความเงียบหลังการรับศีลมหาสนิทก็เพื่อส่งเสริมการสวดภาวนาภายในสรรเสริญและทูนวอนขอต่อพระเจ้า (เทียบ Ibid. 4r5)เพราะฉะนั้นก่อนเริ่มการสวดภาวนาความเงียบจะช่วยให้เราสำรวมตนเองและไตร่ตรองว่าเรามาที่นี่กันเพื่ออะไร  แล้วเราจะเห็นถึงความสำคัญในการฟังจิตใจของเราพร้อมกับเปิดใจกว้างให้กับพระคริสตเจ้า  บางครั้งเรามาจากวันที่เหน็ดเหนื่อยจากการงาน  จากวันที่มีความชื่นชมยินดี  จากวันที่มีความเศร้า  แล้วเราอยากที่จะเล่าให้พระเยซูคริสตเจ้าฟังพร้อมกับวอนขอความช่วยเหลือขอให้พระองค์อยู่ใกล้ชิดกับเรา  เราอาจมีญาติหรือมิตรสหายที่ป่วยหรือกำลังผ่านการทดลองอย่างหนัก  เราต้องการฝากชะตากรรมของพระศาสนจักรและของโลกไว้กับพระเจ้า  และสำหรับสิ่งเหล่านี้ความเงียบจะเป็นประโยชน์ เมื่อบาทหลวงรวบรวมความตั้งใจของทุกคนแล้วก็จะเปล่งเสียงดังต่อพระเจ้าในนามของทุกคนแล้วอธิษฐานภาวนาซึ่งเป็นการจบพิธีเริ่มต้นซึ่งอันที่จริงแล้บทอธิษฐานนั้นเป็นความตั้งใจของแต่ละคน  ข้าพเจ้าจึงอยากขอร้องบาทหลวงให้รักษาเวลาแห่งความเงียบนี้และไม่ต้องรีบร้อนจนเกินไปก่อนที่จะกล่าว “ให้เราภาวนา”ข้าพเจ้าขอแนะนำเรื่องนี้กับบาทหลวง  หากไม่มีความเงียบเราอาจพลาดโอกาส โดยมิได้มีการสำรวมจิตใจ

บาทหลวงจะอธิษฐานบทภาวนาเปิดพิธี(Collect)ด้วยการกางแขนออกซึ่งเป็นวิสัยของผู้ที่ทำการนมัสการซึ่งบรรดาคริสตชน ซึ่งต่างทำกันเช่นนี้ตั้งแต่ศตวรรษแรกเฉกเช่นที่มีจารึกไว้ในห้องศพใต้ดินเพื่อเลียนแบบฉบับของพระคริสตเจ้าที่กางแขนออกบนไม้กางเขน ณ บนไม้กางเขนนั้นพระคริสตเจ้าเป็นผู้ถวายการนมัสการและเป็นคำภาวนาในเวลาเดียวกันด้วย  ในพระเยซูคริสต์ที่ถูกตรึงบนไม้กางเขนนั้นเราเห็นบาทหลวงผู้ถวายการนมัสการซึ่งเป็นที่พอพระทัยของพระองค์ นั่นคือ เป็นการนบนอบเยี่ยงบุตร

ในจารีตของโรมันบทภาวนาแม้จะนั้นสั้นแต่มั่งคั่งด้วยความหมาย การรำพึงที่สวยงามสามารถทำได้จากบทภาวนาเหล่านี้ซึ่งสวยงามมาก เมื่อหวนกลับไปพูดถึงการำพึงบทสวดแม้จะเป็นบทสวดนอกพิธีมิสซา บทสวดเหล่านั้นสามารถช่วยเราให้เรียนรู้ว่าจะต้องปฏิบัติต่อพระเจ้าอย่างไร ต้องใช้คำพูดอย่างไร  ขอให้จารีตพิธีกรรมเป็นโรงเรียนแท้จริงแห่งการสวดภาวนาสำหรับทุกคน

(วิษณุ ธัญญอนันต์ เก็บเรื่องนี้มาร่วมกันไตร่ตรอง)