ประกาศสภาประมุขบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย
ที่ สสท. 41/2020
เรื่อง “มาตรการเพื่อการเข้าร่วมพิธีกรรมของคริสต์ศาสนิกชนคาทอลิก”
เนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้คลี่คลายลงด้วยความร่วมมือของประชาชนคนไทย ภาครัฐได้เริ่มผ่อนปรนมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 แบบค่อย เป็นค่อยไป เพื่อให้ประชาชนสามารถประกอบกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีพรวมถึงการประกอบ ศาสนากิจ แต่จำเป็นต้องปรับตัวเข้ากับ “ฐานวิถีชีวิตใหม่” (New Normal) เพื่อป้องกันการติดเชื้อ โควิด-19
เพื่อเปิดโอกาสให้คริสตศาสนิกชนชนคาทอลิกในประเทศไทย สามารถเข้าร่วมศาสนพิธีต่าง ๆ ภายใต้มาตรการความปลอดภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อให้สัตบุรุษทั่วหน้ามีโอกาสสับเปลี่ยนหมุนเวียนกัน เข้าร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณ (มิสชา) ได้อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้งในวันใดวันหนึ่งของสัปดาห์ แม้จะไม่สามารถเข้าร่วมอย่างพร้อมเพรียงกันได้ในวันอาทิตย์ ดังเช่นในสถานการณ์ปกติ ทั้งนี้ให้เริ่มปฏิบัติได้ ตั้งแต่วันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไปหรือวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 โดยให้อยู่ใน ดุลยพินิจและประกาศของแต่ละสังฆมณฑล
สภาประมุขบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย ในฐานะองค์กรศาสนา โดยนัยข้อกำหนด (ออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉนับที่ ๕) ข้อ ๔) จึงกำหนดมาตรการเพื่อการเข้าร่วมพิธีกรรมของคริสต์ศาสนิกชนคาทอลิก ฉบับนี้ขึ้น เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องทุกคนถือปฏิบัติโดยเคร่งครัด ดังต่อไปนี้ :
๑) ประมุขสังฆมณฑลกำกับ ดูแลผู้รับผิดชอบทุกภาคส่วนในเขตสังฆมณฑลของตนให้
ปฏิบัติตามมาตรการฉบับนี้
๒) ให้เจ้าอาวาสวัดหรือผู้รักษาการเป็นผู้รับผิดชอบดูแลและจัดหาอุปกรณ์เพื่อให้เกิดการ
ปฏิบัติทั้งในส่วนของบุคลากร ผู้ประกอบพิธี และผู้มาร่วมพิธี ในมาตรการที่สำคัญอัน ได้แก่
1.1 กำหนดจำนวนผู้มาร่วมและที่นั่งเพื่อให้สามารถรักษาระยะห่างอย่างน้อย 1.5-2 เมตร ของทุกคนในพิธี
1.2 การสวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยตลอดพิธี
1.3 การคัดกรองผู้มีอาการและผู้มีไข้ไม่ให้เข้าร่วมพิธี
1.4 การล้างมือ
1.5 การทำความสะอาดสถานที่ สิ่งของเครื่องใช้ ระบบระบายอากาศให้สะอาด ปลอดภัย
1.6 การลงทะเบียนผู้มาร่วมและวิธีการติดตามผู้สัมผัสหากเกิดปัญหาการติดเชื้อขึ้น
1.7 การทำความเข้าใจกับสัตบุรุษเพื่อให้เกิดการร่วมมือที่ดี
(รายละเอียดศึกษาได้จากแนวทางการปฏิบัติต่อท้ายประกาศนี้)
๓) ให้สัตบุรุษที่มาร่วมศาสนากิจให้ความร่วมมือในการปฏิบัติตามประกาศนี้ โดยยินยอมให้มีการตรวจวัดไข้ สวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยขณะร่วมพิธี รักษาระยะห่าง ตลอดการร่วมพิธี ลดหรือเปล่งเสียงในพิธีกรรมแต่พอดี สัตบุรุษที่ไม่สบายหรือมีอาการคล้ายหวัด ขอให้งดการมาร่วมพิธี หรือหากท่านใดติดเชื้อโควิดในภายหลังและเกรงว่าจะมีผู้สัมผัสในศาสนาสถานขอให้แจ้งเจ้าอาวาสเพื่อประสานงานกับหน่วย ราชการที่ควบคุมโรค
๔) ให้เจ้าอาวาสติดตามประกาศของคณะกรรมการควบคุมโรคติดต่อจังหวัดซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานเพื่อปฏิบัติตาม และขอคำแนะนำเพิ่มเติมตามที่เห็นควร
ขอพระเยซูคริสตเจ้า โปรดประทานพระพรอุดมบริบูรณ์ และปกป้องคุ้มครองพี่น้องทุกท่านให้ปลอดพ้นจากโรคร้ายทั้งฝ่ายร่างกายและจิตใจ โดยผ่านคำเสนอวิงวอนของพระแม่มารีย์
ประกาศ ณ วันที่ 16 พฤษภาคม ค.ศ. 2020
( พระคาร์ดินัล ฟรังซิสเซเวียร์ เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช )
ประธานสภาประมุขบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย
( บิชอปฟรังซิสเซเวียร์ วีระ อาภรณ์รัตน์ )
เลขาธิการสภาประมุขบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย
เอกสารแนบ: สสท. 041bis/2020 ฉบับวันที่ 16 พฤษภาคม 2020 “แนวทางการปฏิบัติเพื่อการเข้าร่วมพิธีกรรมของคริสต์ศาสนิกชนคาทอลิก”
แนวทางการปฏิบัติเพื่อการเข้าร่วมพิธีกรรมของคริสต์ศาสนิกชนคาทอลิก
ที่ สสท.41bis /2020
วันที่ 16 พฤษภาคม ค.ศ. 2020
1. สถานที่ประกอบศาสนพิธีของคริสต์ศาสนิกชนคาทอลิก
1.1 การเข้าและออกจากวัดของแต่ละบุคคล ต้องหลีกเลี่ยงการรวมตัวกันหนาแน่นของผู้คน
1.2 กำหนดรักษาระยะห่างทางสังคมตามลานระเบียงทางเข้า-ออก เพื่อความปลอดภัยของแต่ละคนขั้นตํ่า 1.5-2 เมตร ทั้งทางด้านหน้า ด้านหลัง ด้านซ้าย ด้านขวา
1.3 กำหนดจำนวนสูงสุดของผู้เข้าร่วมพิธีในวัด และจำนวนที่นั่งร่วมพิธีในแต่ละรอบพิธีและติดประกาศจำนวนดังกล่าวให้ชัดเจน
1.4 แต่ละวัดจัดให้เจ้าหน้าที่อาสาสมัคร มีเครื่องหมายบ่งบอกการเป็นเจ้าหน้าที่ปฏิคม ดูแล ควบคุมการปฏิบัติตามระเบียบต่าง ๆ
1.5 จัดให้มีอุปกรณ์ เครื่องมือจำเป็น หน้ากากอนามัย เฟซชิลต์ เพื่อป้องกันตนเองของเจ้าหน้าที่ทุกคน
1.6 ทุกสถานที่ที่มีผู้เข้าร่วมพิธีจะต้องจัดให้มีเจลล้างมือหรือแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อไว้บริการ และทุกคนที่เข้าร่วมศาสนพิธี ต้องทำความสะอาดมือด้วยเจลฆ่าเชื้อ และสวมหน้ากากอนามัย ตลอดเวลา
1.7 มีคำประกาศระเบียบปฏิบัติต่าง ๆ ชัดเจนติดที่หน้าวัด
1.8 ไม่อนุญาตให้ผู้มีความเสี่ยงที่ติดต่อสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อ ผู้มีอาการป่วย และผู้มีอุณหภูมิสูง กว่า 37.5 องศาฯ เข้าร่วมศาสนพิธี
2. การทำความสะอาดและการฆ่าเชื้อสถานที่และอุปกรณ์
2.1 ทำความสะอาด ฆ่าเชื้อ สถานที่ประกอบพิธี ห้องศาสนภัณฑ์ รวมทั้งสถานที่เกี่ยวข้องอื่น เข่น ห้องสุขา ฯลฯ ภายหลังการประกอบศาสนพิธีทุกครั้งรวมถึงการเปิดหน้าต่าง ปรับเปลี่ยนและระบายอากาศ
2.2 ภายหลังสิ้นสุดพิธีทุกครั้ง ทำความสะอาด ฆ่าเชื้อภาชนะและอุปกรณ์ เครื่องใช้ในพิธี รวมทั้งไมโครโฟน ฯลฯ
2.3 งดใช้นํ้าเสกในการประพรมและจัดให้อ่างนํ้าเสก ณ ประตูทางเข้าวัดอยูในสภาพว่างเปล่า
3. ข้อพึงปฏิบัติและพึงระวังก่อนพิธีบูชาขอบพระคุณ (มิสซา)
3.1 กำกับจำนวนสัตบุรุษผู้ร่วมพิธีไม่ให้เกินเกณฑ์ความจุของวัดสำหรับแต่ละรอบพิธี
3.2 ต้องจัดให้มีการลงทะเบียนขอเข้าร่วมพิธีล่วงหน้า ผ่านทาง Social Network หรือวิธี การอื่นที่เหมาะสมกับแต่ละท้องที่ เพื่อกำกับจำนวนผู้เข้าร่วมแต่ละรอบพิธีและแต่ละวัน ไม่ให้เกินจำนวนที่นั่งในวัดที่สามารถรองรับได้
3.3 ในการลงทะเบียน ให้ระบุชื่อ นามสกุล หมายเลขโทรศัพท์ รายละเอียดอื่นที่จำเป็น เลขที่ นั่งในวัด ของผู้ร่วมพิธีในแต่ละรอบพิธี และแต่ละวัน เพื่อเก็บเป็นหลักฐานในการติดตาม ตรวจสอบ ผู้อาจติดเชื้อได้ในภายหลัง ตามระเบียบของทางราชการ
3.4 หากเป็นการลงทะเบียนก่อนเริ่มพิธี จะต้องจัดให้มีสถานที่อื่นรองรับผู้ร่วมพิธีได้ในกรณี จำนวนผู้ขอเข้าร่วมมีมากเกินกว่าจำนวนที่นั่งภายในวัด
4. ผู้ประกอบพิธี
4.1 ผู้ประกอบพิธีเว้นระยะ รักษาระยะห่างอย่างน้อย 1.5 เมตรจากผู้ร่วมประกอบพิธีท่านอื่น
4.2 ขอให้มีผู้ประกอบพิธีคนเดียว ถ้าต้องมีผู้ร่วมประกอบพิธี ขอให้ผู้ร่วมประกอบพิธีสวมหน้ากากอนามัย
4.3 ในกรณีมีอาการไข้ ไอ หรือเป็นหวัด ต้องไม่ประกอบพิธีหรือร่วมประกอบพิธี
5. ผู้ร่วมพิธี
5.1 จัดที่นั่งของผู้ร่วมพิธี ให้มีระยะห่างทั้งด้านซ้าย-ด้านขวา ด้านหน้า-ด้านหลัง 1.5-2 เมตร ระบุตำแหน่งหมายเลขที่นั่ง
5.2 ผู้ร่วมพิธีทุกคนสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาและนั่งรักษาระยะห่างตามจุดที่กำหนด
5.3 ในกรณีผู้ร่วมพิธีเกิดมีอาการป่วย หรือพบว่าติดเชื้อในภายหลัง ขอให้แจ้งทางวัดทราบ เพื่อติดตามผู้นั่งใกล้ชิดให้ได้รับการเฝ้าระวัง
6. ผู้ช่วยพิธีกรรม
6.1 ให้มีชุดผู้ช่วยพิธีกรรมเฉพาะของแต่ละคน หรือถ้าไม่ใช่ชุดเฉพาะของแต่ละคน ต้องซัก ก่อนทุกครั้ง
6.2 ผู้ช่วยพิธีกรรมสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา และถ้ามีมากกว่าหนึ่งคน ให้จัดที่นั่งเว้น ระยะห่าง รวมทั้งในขบวนแห่ หรือการทำหน้าที่ใด ๆ ให้เว้นระยะห่างเช่นกัน
7. ผู้อ่านบทอ่าน
7.1 การเตรียมชุดของผู้อ่านบทอ่าน ให้ปฏิบัติเหมือนกับชุดของผู้ช่วยพิธีกรรม
7.2 ผู้อ่านบทอ่านสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา รวมทั้งเวลาทำหน้าที่อ่านบทอ่าน
7.3 การนั่งและการอ่าน ให้เว้นระยะห่างเหมาะสมเช่นกัน
8. ดนตรีและการขับร้องในพิธีกรรม
8.1 ดูแลทำความสะอาดเครื่องดนตรีก่อนใช้ทุกครั้ง
8.2 นักขับร้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา รวมทั้งเวลาที่ขับร้องบทเพลงศักดิ์สิทธิ์
8.3 ตำแหน่งการนั่งและยืนของนักขับร้อง ให้เว้นระยะห่างเช่นกัน
8.4 ลดการเปล่งเสียงร้องเพลงให้อยู่ในระดับตํ่า เพื่อลดการฟุ้งกระจายของฝอยละออง
8.5 เพื่อเหมาะสมกับสถานการณ์ ให้มีนักขับร้องจำนวนจำกัดเพียงเพื่อร้องนำเสียง งดเว้น การขับร้องเป็นกลุ่มใหญ่
8.6 ในสถานการณ์ปัจจุบันอาจงดขับร้องบางบทเพลง เพื่อให้การชุมนุมร่วมพิธีกรรมไม่ยาวนานเกินไป
9. การแจกศีลมหาสนิท
9.1 ให้ประธานในพิธีกล่าวถ้อยคำว่า “พระกายพระคริสตเจ้า” ที่พระแท่นเพียงครั้งเดียวก่อนที่ ประธานฯ จะรับศีลมหาสนิท และสัตบุรุษตอบรับ “อาแมน” พร้อมกันครั้งเดียวเช่นกัน
9.2 เมื่อถึงช่วงรับศีลมหาสนิท ก่อนที่ประธานฯจะส่งศีลให้สวมหน้ากากอนามัย เช่นเดียวกับ”ศาสนบริกร ส่งศีลมหาสนิทคนอื่น ๆ
9.3 พระสงฆ์ผู้แจกศีลมหาสนิทล้างมือด้วยแอลกอฮอล์หรือเจลล้างมือก่อนแจกศีลมหาสนิท และถือผอบศีลให้อยู่ห่างจากระดับการหายใจ
9.4 สัตบุรุษรักษาระยะห่าง 1.5-2 เมตร ขณะเดินออกมารับศีล คงสวมหน้ากากอนามัยไว้ เปิด หน้ากากออกก่อนรับศีลและรับศีลมหาสนิทด้วยมือโดยไม่กล่าวคำว่า “อาแมน” อีก
10. ข้อแนะนำอื่น ๆ
10.1 ในกรณีที่มีการเก็บทานรับบริจาค ให้ผู้ทำหน้าที่นี้ยืนเว้นระยะห่างจากผู้ร่วมพิธีแต่ละคน หรืออาจใช้การบริจาคใส่ซอง หรือใส่ตู้ทานหรือรูปแบบอื่นที่เหมาะสมปลอดภัย
10.2 ถ้าวัดใดมีโปรเจคเตอร์ ให้ใช้เครื่องนี้ประกอบการสวดและการขับร้อง หากจำเป็นต้องใช้ หนังสือเพลงและหนังสือสวดภาวนาให้ทำความสะอาดก่อนเสมอ
10.3 งดการประชุม พูดคุยเป็นกลุ่ม ก่อนและหลังพิธีกรรม
10.4 ในช่วงการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้คงจัดการถ่ายทอด
ศาสนพิธีทาง “ออนไลน์” ต่อไปสำหรับบุคคลผู้ไม่สามารถเข้าร่วมพิธีในวัดได้
10.5 ควรจัดพิธีกรรมอย่างมีความหมาย เรียบง่าย ในกรอบเวลาที่เหมาะสม
10.6 จำเป็นต้องถือข้อปฏิบัติต่าง ๆ เหล่านี้อย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การรักษา ระยะห่างทางสังคมในเรื่องที่นั่งในวัดเพื่อป้องกันตนเองและผู้อื่นให้ปลอดภัย
10.7 หากสถานที่ของวัดนั้น ๆ ไม่เอื้ออำนวย พระสงฆ์เจ้าอาวาสอาจจัดหาและใช้สถานที่อื่นที่ปลอดภัยจากการติดโรคมากกว่า พร้อมทั้งมีความเหมาะสมทางด้านพิธีกรรมแทนได้
10.8 ยังคงไว้การยกเว้น (Dispensation) จากพันธการเข้าร่วมพิธีบูขาขอบพระคุณวันอาทิตย์ ของคริสตชน (มาตรา 1247) ของเด็ก ผู้สูงอายุ ผู้ป่วย และให้ผู้ไม่สามารถเข้าร่วมพิธีในวัด ชดเชยการขาดมิสซาวันอาทิตย์ด้วยการร่วมพิธีผ่านโซเซียลมีเดีย หรือทำกิจศรัทธาได้
11. การประกอบศาสนพิธีและศีลศักดิ์สิทธิ์อื่น ๆ
ก. ศีลอภัยบาป
11.1 ศีลอภัยบาปแบบส่วนตัว ประกอบในสถานที่กว้าง อากาศถ่ายเทได้ รักษาระยะห่าง ปลอดภัย และรักษาความลับของศีลอภัยบาป พระสงฆ์และผู้สารภาพบาปต้องสวมหน้ากากอนามัย
11.2 ในกรณีที่ไม่สามารถรับศีลอภัยบาปแบบส่วนตัว อนุญาตให้โปรดศีลอภัยบาปสำหรับหลายคน โดยสารภาพบาปและรับการอภัยร่วมกัน (แบบที่ 3) โดยพระสงฆ์ผู้โปรดบาป ยํ้ากับ สัตบุรุษทุกครั้งว่า เมื่อสถานการณ์กลับสู่สภาพปกติ ให้สัตบุรุษกลับไปรับศีลอภัยบาป แบบส่วนตัว พร้อมทั้งสารภาพบาปครั้งก่อนกับพระสงฆ์ด้วย
ข. การโปรดศีลกำลัง
11.3 อาจเลื่อนการโปรดศีลกำลังไปทำในภายหน้า เมื่อสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ผ่านพ้นไปแล้ว หรือให้ทำตามมาตรการในเรื่องการ ประกอบพิธีบูชาขอบพระคุณ (มิสซา) ทั้งนี้ ให้อยู่ในวินิจฉัยของประมุขสังฆมณฑล โดยอาจกำหนดมาตรการความปลอดภัยเพิ่มเติมขึ้นได้
ค. การประกอบพิธีศีลสมรส
11.4 หากไม่เลื่อนการประกอบพิธีศีลสมรสออกไป ให้ประกอบพิธีศีลสมรสโดยยึดแนวทางการ ประกอบพิธีตามที่มีกำหนดมาตรการความปลอดภัยไว้ และให้เชิญเฉพาะญาติสนิทจำนวนจำกัด
ง. การโปรดศีลเจิมผู้ป่วยและการส่งศีลเสบียง
11.5 กรณีทั่วไป
11.5.1 การโปรดศีลเจิมผู้ป่วยและการส่งศีลเสบียงอาจทำได้ทุกเมื่อที่มีอาการป่วย ไม่ควร รอจนผู้ป่วยมีอาการหนักใกล้เสียชีวิตจึงเชิญพระสงฆ์มาประกอบพิธี
11.5.2 การประกอบพิธีขอให้คำนึงถึงเรื่องสุขภาพอนามัย ผู้รับศีลและผู้ร่วมพิธี ทุกคน สวมหน้ากากอนามัยและรักษาการเว้นระยะห่างระหว่างบุคคลตามข้อความที่ ประกาศข้างต้น
11.5.3 การโปรดศีลอภัยบาปแก่ผู้ป่วย ให้ปรับใช้ตามแนวทางของข้อ 11.1 หรือข้อ 11.2
11.5.4 ในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) อนุญาตให้ประกอบพิธีแบบสั้น (พิธีประกอบศีลศักดิ์สิทธิ์แก่ผู้ป่วยยามฉุกเฉิน อยู่ในอันตรายใกล้จะเสียชีวิต)
11.5.5 ถ้าผู้ป่วยอยู่ในอันตรายใกล้จะเสียชีวิต พระสงฆ์ให้พระคุณการุญครบบริบูรณ์แก่ผู้ ใกล้จะเสียชีวิต (เมื่อผู้ป่วยรับศีลอภัยบาปแล้ว หรือเมื่อที่ชุมนุมทำการสารภาพผิด โดยทั่วไปแล้ว)
11.5.6 ก่อนโปรดศีลเจิมผู้ป่วย พระสงฆ์ผู้ประกอบพิธีสวมหน้ากากอนามัย และสวมถุงมือ เมื่อเจิมผู้ป่วยด้วยนํ้ามันศักดิ์สิทธิ์แล้วจึงถอดถุงมือออก
11.5.7 การรับศีลมหาสนิท (ศีลเสบียง)ให้ผู้ป่วยรับศีลมหาสนิทด้วยมือ โดยขั้นตอนการ ปฏิบัติให้ปรับใช้แนวทางการแจกศีลมหาสนิทในเอกสารนี้ ข้อ 9.1-9.4 หากผู้ป่วย ไม่สามารถรับศีลมหาสนิทด้วยมือได้ให้พระสงฆ์ผู้ประกอบพิธีกล่าวเชิญชวนผู้ป่วย ให้รับศีลมหาสนิทด้วยความปรารถนา
11.6 กรณีของผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด-19
11.6.1 ขอให้ญาติพี่น้องของผู้ป่วยระลึกถึงวิถีปฏิบัติกรณีทั่วไปข้อ ง. 1.1 ก่อนเสมอ
11.6.2 พระศาสนจักรร่วมเป็นหนึ่งเดียวในความทุกข์และภาวนาให้ผู้ป่วยเสมอแม้สถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคร้ายนี้จะทำให้พระสงฆ์ไม่อาจไปโปรดศีลเจิมคนเจ็บป่วยและศีลเสบียงแก่ผู้ป่วยได้ แต่พระสงฆ์จะภาวนาขอพระพรจากพระเจ้า ให้แก่ผู้ป่วย อาจจะเป็นที่วัด ที่บ้านพักพระสงฆ์ หรือที่โรงพยาบาลในระยะห่างที่ ทางโรงพยาบาลอนุญาต ทั้งนี้ให้พระสงฆ์เจ้าอาวาส หรือพระสงฆ์ผู้รับเชิญ (ในกรณีใกล้จะสิ้นชีวิต) เป็นผู้วินิจฉัยและตัดสินใจ
11.6.3 ในกรณีใกล้จะเสียชีวิตให้ปฏิบัติตามแนวทางการรับพระคุณการุณย์ครบบริบูรณ์ สำหรับผู้ที่ไม่สามารถจะรับศีลเจิมคนไข้และศีลเสบียงได้ (ตามกฤษฎีกา ลงวันที่ 20 มีนาคม 2020 ของสำนักงานวินิจฉัยคดีฝ่ายจิต) โดย “ขอให้ผู้ป่วยใกล้จะ เสียชีวิต เพียงแต่เคยสวดบทภาวนาเป็นประจำขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ (ในกรณีเช่นนี้ พระศาสนจักรปฏิบัติตามเงื่อนไขที่จำเป็นทั้งสามประการแทนผู้ป่วย) เพื่อจะรับ พระคุณการุณย์เช่นนี้ ขอแนะนำให้ผู้ป่วยเห็นไม้กางเขนหรือจัดตั้งไม้กางเขนใน การประกอบพิธี ไม้กางเขนดังกล่าวจะมีรูปพระเยซูเจ้าตรึงอยู่ด้วยหรือไม่มีก็ได้”
11.7 กรณีของผู้ป่วยใกล้จะเสียชีวิตในช่วงเวลาเคอร์ฟิว
11.7.1 ขอให้ญาติพี่น้องของผู้ป่วยระลึกถึงวิถีปฏิบัติกรณีทั่วไปทั้งในข้อ ง. 1.1. ก่อนเสมอ
11.7.2 ให้ญาติพี่น้องเตือนใจคนเจ็บป่วยใกล้จะเสียชีวิตให้เป็นทุกข์ถึงบาป รวมทั้งสวดภาวนาร่วมกับเขา หรืออธิษฐานภาวนาแทนเขา ในกรณีที่เขาเข้าตรีทูตไม่สามารถ สวดภาวนาได้แล้ว
11.7.3 การรับพระคุณการุณย์ครบบริบูรณ์ของคนเจ็บป่วยใกล้จะเสียชีวิต ให้ใช้แนวทาง ของผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ข้อ 1.6.3
จ. พิธีสำหรับผู้ล่วงลับและมิสซาปลงศพ
11.8 ขอพระสงฆ์ให้ความสำคัญ และการบรรเทาใจต่อการสูญเสียของบรรดาญาติมิตรสัตบุรุษใน ชุมชนวัดของท่านมากที่สุดด้วยการเยี่ยมเยียน รวมทั้งพูดคุยให้คำแนะนำในการจัดพิธี ในช่วงสถานการณ์ที่อาจจะมีข้อจำกัด เช่น ระยะเวลาการตั้งศพ การเชิญผู้มาร่วมพิธีด้วย จำนวนจำกัดอย่างเหมาะสมและปลอดภัย
11.9 การจัดสถานที่สวดศพให้ที่นั่งมีระยะห่างและผู้ร่วมพิธีสวมหน้ากากอนามัยตลอดพิธีกรรม
11.10 จัดพิธีมิสซาปลงศพตามแนวทางพิธีบูชาขอบพระคุณ (มิสซา) ที่ระบุแล้วข้างต้น
11.11 งดการเลี้ยงรับรอง อาหาร เครื่องดื่มต่าง ๆ ณ บริเวณที่จัดงานศพ อาจมีการจัดเป็น อาหารกล่อง และให้มีการแจกด้วยวิธีที่เหมาะสมกับสถานการณ์
12. การประชาสัมพันธ์ที่เหมาะสม
12.1 พระสงฆ์เจ้าอาวาสจัดการ และดูแลให้การประชาสัมพันธ์ในประกาศนี้ไปถึงบรรดาสัตบุรุษ คริสต์ศาสนิกชนคาทอลิกในเขตชุมชนวัดของตนถ้วนหน้า
12.2 จัดให้ติดประกาศนี้หน้าวัด และประชาสัมพันธ์ให้สัตบุรุษคริสตศาสนิกชนคาทอลิกรับรู้และ ปฏิบัติตามได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เนื้อหาหลักสำคัญครบถ้วนทุกประการ
อนึ่ง ข้อบังคับสำคัญ คือมาตรการการป้องกันตนเองและผู้อื่น โดยการรักษาระยะห่างทางสังคม ในการเข้า-ออกจากวัด การนั่งร่วมพิธีในวัด การเดินไปรับศีลมหาสนิท และการสวมหน้ากาก อนามัยครอบปาก-จมูกมิดชิด และการทำความสะอาดมือ ฆ่าเชื้อด้วยเจลและแอลกอฮอล์
แนวทางการปฏิบัติตามประกาศนี้ให้อยู่ในความรับผิดชอบของพระสงฆ์เจ้าอาวาส และ พระสงฆ์ผู้ดูแลวัดน้อยต่าง ๆ ด้วยความเอาใจใส่ตามจิตตารมณ์ของผู้อภิบาล และให้เป็นไปโดย สอดคล้องกับระเบียบข้อบังคับการผ่อนปรนที่ทางราชการได้กำหนดไว้
ประกาศ ณ วันที่ 16 พฤษภาคม ค.ศ. 2020
( พระคาร์ดินัล ฟรังซิสเซเวียร์ เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช )
ประธานสภาประมุขบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย
( บิชอปฟรังซิสเซเวียร์ วีระ อาภรณ์รัตน์ )
เลขาธิการสภาประมุขบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย
โทรสารในราชการกระทรวงมหาดไทย
ที่ มท ๐๒๓๐/ว๒๙๒๘
วันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๖๓
จาก ปลัดกระทรวงมหาดไทย
ถึง ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด
ด้วยกรมการศาสนาขอความอนุเคราะห์กระทรวงมหาดไทย แจ้งจังหวัดเพื่อขอความร่วมมือ จากศาสนสถานที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ ให้ดําเนินการตามประกาศองค์การทางศาสนาที่ทางราชการให้การรับรอง (เพิ่มเติม) กรณีสภาประมุขบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทยได้กําหนดแนวทางปฏิบัติ เรื่อง แนวทาง การปฏิบัติเพื่อการเข้าร่วมพิธีกรรมของคริสต์ศาสนิกชนคาทอลิก ที่ สสท. 41bis/2020 วันที่ 16 พฤษภาคม ค.ศ. 2020 และประกาศ เรื่อง มาตรการเพื่อการเข้าร่วมพิธีกรรมของคริสต์ศาสนิกชนคาทอลิก ที่ สสท. 41/2020 ณ วันที่ 16 พฤษภาคม ค.ศ. 2020 เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบเป็นแนวทางในการประกอบศาสนกิจ ได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน และเข้าใจวิธีปฏิบัติตนตามแนวทางการป้องกันการแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) รายละเอียดปรากฏตามเอกสารที่ส่งมาพร้อมนี้
ในการนี้ จึงขอให้จังหวัดแจ้งผู้ปกครองดูแลศาสนสถานที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ประชาสัมพันธ์ ให้ประชาชนผู้นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกในพื้นที่ ดําเนินการตามแนวทางปฏิบัติและประกาศของ สภาประมุขบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ สามารถดาวน์โหลดแนวทางปฏิบัติและประกาศ ของสภาประมุขบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทยดังกล่าวได้ ทางเว็บไซต์ www.moicovid.com หัวข้อ“หนังสือสั่งการ มท.”
(นายฉัตรชัย พรหมเลิศ)
ปลัดกระทรวงมหาดไทย
หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน
ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการสั่งการและประสานกับผู้ว่าราชการจังหวัด
และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
สํานักงานปลัดกระทรวง
ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด – 19 มท. (สนผ.)
โทร./โทรสาร ๐ ๒ ๒๒๕ ๒๘๕๗
กรมการศาสนา
๑๐ ถนนเทียมร่วมมิตร
เขตห้วยขวาง กทม. ๑๐๓๑๐
๑๙ พฤษภาคม ๒๕๖๓
ที่ วธ ๐๓๐๒/๒๓๒๒
เรื่อง ขอความร่วมมือในการดําเนินการตามประกาศองค์การทางศาสนาที่ทางราชการให้การรับรอง (เพิ่มเติม)
เรียน ปลัดกระทรวงมหาดไทย
สิ่งที่ส่งมาด้วย สําเนาประกาศองค์การทางศาสนาที่ทางราชการให้การรับรอง (เพิ่มเติม) จํานวน ๑ ชุด
ด้วยรัฐบาลมีข้อกําหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการ ในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๕) ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๖๓ และต่อมาได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าว ออกไปจนถึงวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๓ เพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) ซึ่งตามข้อกําหนด ข้อ ๔ ระบุไว้ว่า การปฏิบัติศาสนกิจหรือศาสนพิธีในวันสําคัญทางศาสนาหรือตามประเพณีนิยม ณ ศาสนสถานใดให้เป็นไปตามดุลยพินิจและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้ปกครองดูแล ศาสนสถานนั้น ในกรณีมีมาตรการหรือคําแนะนําขององค์กรปกครองทางศาสนานั้นหรือของทางราชการ เกี่ยวกับการป้องกันโรค ให้ผู้เกี่ยวข้องปฏิบัติตามมาตรการหรือคําแนะนําดังกล่าว
ในการนี้ กรมการศาสนา ขอความอนุเคราะห์ท่านแจ้งไปยังทุกจังหวัด เพื่อขอความร่วมมือ จากศาสนสถานที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ให้ดําเนินการตามประกาศองค์การทางศาสนาที่ทางราชการให้การรับรอง (เพิ่มเติม) และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบ รายละเอียดตามสิ่งที่ส่งมาด้วย เพื่อเป็นแนวทางในการประกอบศาสนกิจได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์ให้ศาสนิกชนในพื้นที่เข้าใจวิธี ในการปฏิบัติตนตามแนวทางการป้องกันการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) เพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดต่อไป
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาดําเนินการต่อไป
ขอแสดงความนับถือ
(นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ)
อธิบดีกรมการศาสนา
กองศาสนูปถัมภ์ โทร. ๐ ๒๒๐๒ ๙๖๓๓ โทรสาร ๐ ๒๒๐๙ ๓๗๒๔