บทเทศน์วันพฤหัสที่ 7 พฤษภาคม ค.ศ. 2020
พิธีมิสซาแบบเปิดวัดสาธารณะสำหรับบรรดาสัตบุรุษในประเทศอิตาลี จะเริ่มใหม่วันจันทร์ที่ 18 พฤษภาคมนี้
เป็นข้อตกลงระหว่างบรรดาบิชอปกับรัฐบาลประเทศอิตาลี
“อย่าเสียความรู้สึกว่าพวกท่านเป็นประชากรของพระเจ้า”
จงอย่าได้เสียความรู้สึกว่าพวกท่านเป็นประชากรของพระเจ้า
สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสทรงมอบคำแนะนำนี้ให้กับผู้ที่ติดตามและร่วมพิธีมิสซาประจำวันกับพระองค์ ณ วัดน้อยภายในสถานพำนักซางตามาร์ธา นครรัฐวาติกัน
สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสเริ่มมิสซาโดยการภาวนาให้กับผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของไวรัสโคโรนาทุกคน และบรรดาศิลปินหลังจากที่มีการแบ่งปันข้อคิดกัน ซึ่งพระองค์เพิ่งได้รับจดหมายจากบุคคลกลุ่มหนึ่งที่ขอบคุณสำหรับคำภาวนาของพระองค์
“พ่อปรารถนาวิงวอนพระเยซูคริสต์ให้ทรงอวยพรพวกเขา” พระองค์ตรัส “เพราะอาศัยบรรดาศิลปิน พวกเราเข้าใจความงดงามต่างๆ และหากปราศจากซึ่งความสวยงามแล้วพวกเราก็ไม่อาจที่จะเข้าใจพระวรสารได้”
ในบทเทศน์สมเด็จพระสันตะปาปาทรงไตร่ตรองถึงบทอ่านของวันนี้จากหนังสือกิจการอัครสาวก (กจ. 13: 13-25) ซึ่งเปาโลเมื่อเดินทางไปถึงอันตีโอเกียในปีซีเดียแล้ว เปาโลก็ตรงไปยังโรงสวด หรือศาลาธรรม และเล่าประวัติศาสตร์แห่งชนชาติอิสราเอลพร้อมกับประกาศพระเยซูคริสต์พระผู้ไถ่ของชาวเรา
“เมื่อเปาโลอธิบายคำสอนใหม่” สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสกล่าว “เปาโลพูดถึงประวัติศาสตร์แห่งความรอด” โดยตั้งข้อสังเกตว่า เปาโลทำเช่นนั้นเพราะว่าก่อนหน้าพระเยซูคริสต์ ได้ปรากฏอยู่แล้วประวัติศาสตร์แห่งพระหรรษทาน แห่งการเลือกสรร การมีอยู่แล้วเกี่ยวกับพันธสัญญา
เมื่อพูดถึงประวัติศาสตร์อันยืดยาวนี้สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสทรงชี้ให้เห็นว่า “พระเจ้าทรงเลือกอับราฮัม และทรงดำเนินไปพร้อมกับประชาชนของพระองค์”
สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสตรัสว่าเปาโลไม่ได้เริ่มต้นกับพระเยซูคริสต์ ท่านเริ่มต้นอธิบายด้วยประวัติศาสตร์ เพราะว่า “คริสต์ศาสนาไม่ใช่เป็นข้อความเชื่อ แต่เป็นประวัติศาสตร์ที่นำไปสู่ข้อความเชื่อ”
สมเด็จพระสันตะปาปาทรงเสนอว่าคริสตศาสนาเป็นอะไรที่มากไปกว่าหลักการจริยธรรม และศีลธรรมโดยยืนยันว่า “คริสต์ศาสนามีสิ่งสำคัญที่มากไปกว่านั้น”
สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสทรงเตือนใจว่า คริสต์ศาสนามิได้มีเพื่อชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเป็นพิเศษ ไม่ใช่เพื่อผู้ดีมีตระกูล พระองค์ทรงรำพันว่า บ่อยครั้งพวกเราเอนเอียงที่จะคิดเช่นนี้
เพื่อเตือนใจ มิให้พวกเราสูญเสียความรู้สึกแห่งการเป็นประชากรของพระเจ้าสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสทรงเชิญสัตบุรุษให้รับรู้อยู่เสมอว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งแห่งประชากรที่จะต้องถ่ายทอดประวัติศาสตร์แห่งความรอดของพวกเรา เพื่อจะดำรงไว้ซึ่งความทรงจำแห่งความเป็นประชากรของพระเจ้า
“จงนึกถึงบรรพบุรุษของพวกท่าน” ผู้เขียนจดหมายถึงชาวฮีบรูกล่าวไว้
สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสซิสเตือนใจ “การหลงผิดที่ร้ายแรงที่สุดของคริสตชน คือการขาดความจำว่า พวกเราคือประชากรของพระเจ้า”
พระองค์ตำหนิว่านี่คือรากเหง้าแห่งพระธรรมคำสอน ศีลธรรม และกระบวนการเคลื่อนไหวของพวกผู้ดีมีตระกูล
ตรงกันข้าม พระองค์กล่าวว่า ประชากรของพระเจ้าเดินตาม คำสัญญา ตามพันธสัญญาที่พวกเขาไม่ได้เป็นผู้กระทำ แต่เป็นสิ่งที่พวกเขาต้องรับรู้อย่างดี
สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสทรงสรุปด้วยการกล่าวว่า “พวกเราเป็นสัตบุรุษ เป็นประชากรศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้า ที่รู้สึกว่าต้องมีความเชื่อ และความไม่รู้จักผิดพาดในความเชื่อนั้น”
บทเทศน์ของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส (ฉบับเต็ม)
เมื่อเปาโลได้รับการเชิญให้ปราศรัยในโรงสวดแห่งเมืองอันตีโอเกียเพื่ออธิบายเกี่ยวกับกับคำสอนใหม่ กล่าวคืออธิบายเรื่องพระเยซูคริสต์ การประกาศพระเยซูคริสต์ เปาโลเริ่มต้นด้วยการพูดถึงประวัติศาสตร์แห่งการไถ่กู้ (เทียบ กจ. 13: 13-21) เปาโลยืนขึ้นแล้วกล่าวว่า “พระเจ้าแห่งประชากรอิสราเอลได้ทรงเลือกบรรพบุรุษของเราและทรงทำให้พวกเขาเป็นประชากรที่ยิ่งใหญ่ในช่วงที่พวกเขาอยู่ในดินแดนแห่งประเทศอียิปต์” (กจ. 13: 17) … แล้วเปาโลก็เล่าเรื่องทั้งหมดของการไถ่กู้ซึ่งได้แก่ประวัติศาสตร์แห่งความรอด สตีเฟนทำเช่นเดียวกันก่อนเป็นมรณะสักขี (เทียบ กจ. 7: 1-54) และเปาโลก็กระทำเช่นนี้ในอีกโอกาสหนึ่ง ผู้เขียนจดหมายถึงชาวฮีบรูก็ทำเช่นเดียวกันเมื่อเขาเล่าเร่องของอับราฮัมและ “บรรพบุรุษของเรา” (เทียบ ฮบ. 11: 1-39) วันนี้พวกเราร้องเพลงเดียวกัน “ความรักของพระองค์ดำรงอยู่เป็นนิตย์ พระองค์ทรงสถาปนาความซื่อสัตย์ของพระองค์ไว้อย่างมั่นคงในสวรรค์” (สดด. 89: 2) พวกเราขับร้องเรื่องราวของดาวิด “เราได้พบดาวิด ผู้รับใช้ของเรา” (ข้อ 20) มัทธิว (เทียบ 1: 1-14) และลูกา (เทียบ 3: 23-38) ล้วนเป็นเช่นเดียวกันทั้งสิ้น เมื่อเปาโลเริ่มพูดถึงพระเยซูคริสต์ ทุกคนต่างก็พูดถึงต้นกำเนิดของพระองค์
มีอะไรอยู่เบื้องหลังพระเยซูคริสต์? มีประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์แห่งพระหรรษทาน ประวัติศาสตร์แห่งการเลือกสรร ประวัติศาสตร์แห่งพันธสัญญา พระเจ้าทรงเลือกอับราฮัมและทรงดำเนินไปพร้อมกับประชากรของพระองค์ เมื่อเริ่มต้นมิสซาในบทเพลงแรก พวกเรากล่าวว่า “ข้าแต่พระเจ้า เมื่อพระองค์ทรงพระดำเนินนำหน้าประชากรของพระองค์พร้อมกับเปิดทาง และดำเนินไปเคียงข้างใกล้ชิดกับประชากรของพระองค์” พวกเราเห็นว่าประวัติศาสตร์ของพระเจ้ากับประชากรของพระองค์ เพราะเหตุนี้เมื่อเปาโลถูกขอร้องให้อธิบายเหตุผลที่เชื่อในพระเยซูคริสต์ เปาโลเริ่มต้นอธิบายจากประวัติศาสตร์ คริสต์ศาสนาเป็นคำสอนความเชื่อ ใช่แล้ว! แต่ไม่ใช่แค่เพียงเท่านั้น ไม่ใช่แค่สิ่งที่พวกเราเชื่อ แต่เป็นประวัติศาสตร์ที่นำมาซึ่งความเชื่อที่เป็นพันธสัญญาของพระเจ้า ที่ได้รับการเลือกสรรจากพระเจ้า คริสต์ศาสนาไม่ได้เป็นเพียงจริยธรรม เป็นอะไรที่สำคัญมากกว่านั้น ใช่ นี่เป็นความจริง พวกเรามีหลักแห่งคุณธรรมจริยธรราม แต่นั้นไม่ใช่วิถีคริสตชนที่เป็นเพียงวิสัยทัศน์แห่งจริยธรรม แต่มีอะไรที่มากกว่านั้น คริสต์ศาสนาไม่ใช้กลุ่มชน “ผู้ดีมีตระกูล” ที่ถูกเลือกสรรเพื่อความจริง ความรู้สึกของการเป็นผู้ดีมีตระกูลต้องไม่เกิดขึ้นในพระศาสนจักร เช่น ฉันเป็นสมาชิกของสถาบันนี้สถาบันนั้น สังกัดที่นี่ที่นั่น ฉันังกัดที่นี่ที่นั่นันตะปาปาฟรานงปันและไตร่ตรองอยู่ในกระบวนการเคลื่อนไหวนี้ซึ่งดีกว่าของคนอื่นๆ… ดีกว่านี้ ดีกว่านั้น นี่เป็นความรู้สึกอย่างหนึ่งของพวกผู้ดีมีตระกูล ไม่เลยนะ คริสตศาสนาต้องไม่เป็นเช่นนี้ คริสต์ศาสนาเป็นของนกลุ่มหนึ่งที่ได้รับการเลือกสรรอย่างเสรีจากพระเจ้า ถ้าพวกเราไม่รับรู้ถึงการเป็นประชากร พวกเราก็จะเป็นได้แค่ “คริสตชนในอุดมการณ์” มีคำสอนนิดหน่อยที่ยืนยันถึงความจริง มีจริยธรรม มีศีลธรรม หรือมีความรู้สึกว่าเป็นกลุ่มชนอภิสิทธิ์ พวกเราในฐานะคริสตนรู้สึกว่า พวกเราคือส่วนหนึ่งของกลุ่มชน ส่วนคนอื่นๆไปตกนรกซะ หากพวกเขาเอาตัวรอดได้ก็เพราะพระเมตตาของพระเจ้า แต่พวกเขาเป็นพวกที่ถูกปฏิเสธ… ฯลฯ หากพวกเราไม่มีความรู้สึกว่า พวกเราเป็นส่วนหนึ่งของประชากร พวกเราก็ไม่ใช่คริสตชน เพราะฉะนั้น ตั้งแต่เริ่มแรก เริ่มเทศน์ เปาโลอธิบายพระเยซูคริสต์ว่าเป็นส่วนหนึ่งของประชากร บ่อยครั้งพวกเราคิดเอียงข้าง พวกเราถือว่าพวกเรามีความเชื่อ พวกเรามีคุณธรรม พวกเรามีศีลธรรม ไม่ใช่นะ พ่อขอเตือน.. ความรู้สึกว่าพวกเราเป็นผู้ดีมีตระกูลซึ่งก็ไม่เป็นอันตรายมากนัก พวกเราจะเสียความรู้สึกว่าพวกเราเป็นประชากรที่ซื่อสัตย์และศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้า ซึ่งพระเจ้าทรงเลือกโดยทางอับราฮัมตามพันธสัญญาของพระองค์ซึ่งเป็นพันธสัญญาที่ยิ่งใหญ่ นั่นคือพระเยซูคริสต์ซึ่งทำให้อับราฮัมมีความหวังและทรงทำพันธสัญญากับเขาให้รับรู้ว่าเขาเป็นประชากรที่ศักดิ์สิทธิ์
หนังสือเฉลยธรรมบัญญัติทำให้พ่อรู้สึกสะเทือนใจ พ่อคิดว่าเป็นบทที่ 26 เมื่อมีการกล่าวว่า “เมื่อท่านไปมอบของกำนัลต่อพระเจ้าปีละครั้งจะเป็นผลไม้รุ่นแรก แต่เมื่อบุตรถามว่าทำไมพ่อจึงทำเช่นนี้? ท่านต้องไม่ตอบเขาว่า ‘พระเจ้าทรงรับสิ่งเช่นนี้’ ไม่ใช่นะ.. “เราเป็นประชากร พวกเราเป็นเช่นนั้นเพราะพระเจ้าทรงช่วยให้พวกเราเป็นอิสระ…” เทียบ ฉธบ. 26: 1-11) จงเล่าประวัติศาสตร์เฉกเช่นเปาโลทำที่นี่ จงถ่ายทอดประวันติศาสตร์แห่งการไถ่กู้ของพวกเรา ในหนังสือเฉลยธรรมบัญญัติพระเจ้าทรงให้คำแนะนำว่า “เมื่อท่านเดินทางเข้ามาสู่ดินแดนที่ท่านมิได้มีชัยชนะ แต่พวกเราเป็นผู้มีชัย ทานผลไม้ที่ท่านไม่ได้ปลูก และอยู่ในบ้านที่ท่านไม่ได้สร้างในยามที่ท่านทำการถวายของกำนัล” (เทียบ ฉธบ. 26: 1 เป็นความเชื่อที่ยิ่งใหญ่ของธรรมบัญญัติ) “อาราเมียนผู้เร่ร่อนเป็นบิดาของข้าพเจ้า เขาเดินทางลงไปยังประเทศอียิปต์ (ฉธบ. 26: 5) เขาอาศัยอยู่ที่นั่น 400 ปี แล้วพระเจ้าได้ทรงทำให้เขาเป็นไท และทรงทำให้เขาเจริญก้าวหน้า ประวัติศาสตร์จารึกความทรงจำของประชากรที่พวกเขาเป็นประชากรของพระเจ้าเรื่อยมาจนถึงสมัยของพระเยซูคริสต์ ในพระศาสนจักรมีนักบุญ มีคนบาป มีคนสามัญธรรมดาที่มีทั้งคนดี คนยึดหลักคุณธรรมสูง และบุคคลที่มีบาป มีผู้คนทุกประเภท ฝูงชนที่ติดตามพระเยซูคริสต์มีกลิ่นที่พวกเขาเป็นส่วนหนึ่งแห่งประชากร คริสตชนที่มีคุณสมบัติจำเพาะที่ไม่มีกลิ่นนี้ ไม่ใช่คริสตชนที่แท้จริง เขาจะเป็นคนที่แปลกหน่อยที่รู้สึกชอบธรรมที่จะไม่มีประชากร คนเราทุกคนต้องเป็นส่วนหนึ่งแห่งประชากร ต้องมีความทรงจำถึงประชากรของพระเจ้า เปาโลและสตีเฟนสอนพวกเราเช่นนี้ บรรดาอัครสาวกอื่นๆก็เช่นเดียวกัน … นี่เป็นคำแนะนำของผู้ที่เขียนจดหมายถึงชาวฮีบรู “จงจำบุพการีของพวกท่านไว้” (เทียบ ฮบ. 11: 2) กล่าวคือ ผู้ที่มาก่อนพวกเราในเส้นทางแห่งความรอดนี้
หากมีใครบางคนถามพ่อว่า “สำหรับท่านอะไรคือความหลงผิดของคริสตชนในวันนี้และเสมอมา?” สำหรับท่านแล้วอะไรเป็นความหลงผิดที่เป็นอันตรายร้ายแรงที่สุด?” พ่อจะตอบโดยไม่มีข้อสงสัยใดเลยว่าคือการขาดความทรงจำของการที่ท่านเป็นส่วนหนึ่งแห่งประชากรพระเจ้า เมื่อสิ่งนี้ขาดหมายไป ทุกคนและพวกเราด้วยจะเป็นคนบาปเสมอ แต่โดยทั่วไปแล้วนั่นไม่ใช่ความผิด หากพวกเรายังมีกลิ่นแห่งการที่พวกเราเป็นประชากรที่ได้รับการเลือกสรรซึ่งเดินตามพันธสัญญาและทำพันธสัญญากับพระเจ้าซึ่งบางทีพวกเราก็ไม่ได้ปฏิบัติตามแต่ก็ทราบรู้ตัวดี
จงวอนขอการรับรู้นี้ถึงการเป็นประชากรของพระเจ้าจากพระองค์ ขอให้พระแม่มารีย์ผู้เป็นมารดาของพวกเราที่ทรงขับร้องบทเพลงมักญีฟีกัส (Magnificat) ของพระแม่ได้อย่างสวยงาม (เทียบ ลก. 1: 45-56) ขอให้เซการียาห์ที่ขับร้องเพลงเบเนดิกตุส (Benedictus) ของเขาได้อย่างสวยงาม (เทียบ ข้อ 67-79) และบทเพลงสรรเสริญที่พวกเราขับร้องทุกวันทั้งตอนเช้าและตอนเย็น ในการรับรู้ว่าพวกเราเป็นประชากร พวกเราเป็นประชากรที่ซื่อสัตย์และศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้าซึ่งทั้งสภาพระสังคายนาวาติกันครั้งที่ 1 และ 2 มีกลิ่นแห่งความเชื่อ และไม่รู้จักผิดพลาดในหนทางแห่งความเชื่อนี้
สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสทรงจบพิธีมิสซาด้วยการอวยพรศีลมหาสนิทพร้อมกับเชิญบรรดาสัตบุรุษให้มีจิตใจเป็นหนึ่งเดียวกัน
ข้าแต่พระเยซูคริสต์ ลูกขอกราบลง ณ แทบพระบาทของพระองค์ ลูกขอมอบการเป็นทุกข์ถึงบาปจากใจจริงของลูก ดวงใจที่มัวแต่สาละวนอยู่กับสิ่งที่ไม่เป็นเรื่องอันไร้สาระต่อหน้าพระพักตร์พระองค์ ลูกขอกราบนมัสการพระองค์ในศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งความรักของพระองค์ ในขณะที่กำลังรอที่จะรับความสุขแห่งศีลมหาสนิท ลูกปรารถนาที่จะรับพระองค์ทางจิตวิญญาณ ข้าแต่พระเยซูคริสต์ โปรดเสด็จมายังลูกเพื่อลูกจะได้เข้าไปหาพระองค์ ขอให้ความรักของพระองค์จงเผาตัวลูกทั้งในชีวิตและในความตาย ลูกเชื่อในพระองค์ ลูกไว้ใจในพระองค์ ลูกรักพระองค์ อาแมน
Regina caeli laetare, alleluia.
Quia quem meruisti portare, alleluia.
Resurrexit, sicut dixit, alleluia.
Ora pro nobis Deum, alleluia.
(Christ, whom you bore in your womb, alleluia,
Has risen, as He promised, alleluia.
Pray for us to the Lord, alleluia).
(ราชินีสวรรค์ จงชื่นชมยินดีเถิด อัลเลลูยา
เพราะพระองค์ที่พระแม่อุ้มไว้ในครรภ์ อัลเลลูยา
ได้ทรงกลับเป็นขึ้นมาตามที่ได้ทรงสัญญาไว้ อัลเลลูยา
โปรดภาวนาต่อพระองค์เพื่อลูกด้วยเทอญ อัลเลลูยา)
(วิษณุ ธัญญอนันต์ – เก็บบทเทศน์นี้มาแบ่งปันและไตร่ตรอง)