Skip to content

โปรดภาวนาพิเศษสำหรับผู้สูงอายุ (โควิด-19)

“ในการอยู่อย่างโดดเดี่ยว โรคระบาดโควิด19 สามารถคร่าชีวิตผู้คนได้มากขึ้น”

สันตะสำนัก นครรัฐวาติกันเรียกร้องให้อธิษฐานภาวนาและแสดงความใกล้ชิดกับผู้สูงอายุอย่างเป็นพิเศษในช่วงที่มีการระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19

สมณสภาเพื่อฆราวาส-ครอบครัว-และชีวิต สำนักงานแห่งสันตะสำนัก ได้ออกจดหมายอภิบาล เมื่อวันอังคารที่ 7 เมษายน ค.ศ. 2020 เพื่อขอร้องและชี้แจงให้เห็นถึงอันตรายของการอยู่อย่างโดดเดี่ยวเพราะการห้ามออกจากบ้านในช่วงแห่งวิกฤตที่เกิดจากโรคระบาด  จดหมายอภิบาลระบุว่าผู้สูงอายุอาจกลายเป็นบุคคลที่ “อ่อนแอเปราะบางและไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร” ในช่วงนี้เช่นเดียวกันกับบุคคลทั่วไป

เมื่อสองสามสัปดาห์มานี้สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสตรัสว่า “การอยู่อย่างโดดเดี่ยวสามารถกลายเป็นเชื้อโรค แต่โดยอาศัยความรัก ความใกล้ชิด และการให้ความบรรเทาจิตใจ พวกเราสามารถเยียวยารักษาโรคร้ายได้” จดหมายอภิบาลระบุว่า “คำพูดเหล่านี้ช่วยให้พวกเราเข้าใจว่าไวรัสโคโรนาร้ายแรงกว่าเมื่อเชื้อโรคพบกับร่างกายที่ไม่สมบูรณ์ ในหลายกรณีที่พวกเราพบในอดีตคือการอยู่อย่างโดดเดี่ยว  นี่ไม่ใช่เหตุบังเอิญที่พวกเราเผชิญกับความตายในอัตราส่วนที่น่าตกใจของผู้คนจำนวนมากที่อยู่ห่างไกลจากครอบครัว และตกอยู่ในสภาพใจฝ่อห่อเหี่ยวในการที่ต้องอยู่อย่างโดดเดี่ยว

“ด้วยเหตุนี้ จึงสำคัญว่าพวกเราต้องทำทุกสิ่งเท่าที่จะทำได้เพื่อแก้ไขสภาพแห่งการถูกทอดทิ้ง ในกรณีปัจจุบันอาจหมายถึงการช่วยชีวิตไว้”

เชื้อไวรัสโคโรนาสามารถคร่าชีวิตมนุษย์ ไม่ว่าจะมีอายุมากน้อยเท่าใดหรือทำอาชีพอะไร ทว่าอัตราการเสียชีวิต เป็นสัดส่วนไม่เท่ากันในหมู่ของผู้สูงอายุ ในประเทศอิตาลีมีมากกว่า 80% ของผู้ที่เสียชีวิตที่มีอายุมากว่า 70 ปี

“ในช่วงเวลาพิเศษนี้ เกิดความคิดริเริ่มหลายอย่าง… เช่นให้พระศาสนจักรจัดสถานที่พิเศษไว้สำหรับผู้สูงอายุโดยเฉพาะ” สมณสภาเพื่อฆราวาส-ครอบครัว-และชีวิต ตั้งข้อสังเกตว่า “ความไม่สามารถที่จะออกไปเยี่ยมตามบ้านนำไปสู่การค้นหารูปแบบและมีความคิดริเริ่มใหม่ๆมาแทนที่ เช่น โทรศัพท์ วีดีโอ สารตามสาย ส่งข้อความและรูป คลิปผ่านทางเครื่องมือสื่อสาร หรือที่เป็นธรรมเนียมปฏิบัติแบบเก่าๆ คือส่งจดหมายที่จ่าหน้าถึงผู้ที่อยู่ตามลำพัง  บ่อยครั้งวัดต่างๆจะเป็นผู้ส่งอาหารและหยูกยาให้กับคนเหล่านั้นที่ถูกบังคับไม่ให้ออกจากบ้าน เกือบทุกหนทุกแห่งบรรดาศาสนบริกร (บาดหลวง นักบวช) ยังคงไปเยี่ยมตามบ้านทำการโปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ และอวยพร อาสาสมัครจำนวนมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนต่างทำงานด้วยใจกว้างจนกระทั่งมีการสร้างเครือข่ายขั้นพื้นฐานในความเอื้ออาทรและการเอาใจใส่ดูแลผู้สูงอายุ

“แต่ความหนักหน่วงในช่วงนี้เรียกร้องพวกเราทุกคนต้องทำให้มากกว่านั้น ในฐานะปัจเจกบุคคลและพระศาสนจักรท้องถิ่น พวกเราสามารถทำอะไรได้มากมายแยะสำหรับผู้สูงอายุ  เช่นสวดภาวนาให้พวกเขา เพื่อรักษาโรคแห่งการอยู่อย่างโดดเดี่ยว สร้างเครือข่ายความเอื้ออาทรอย่างจริงจัง ฯลฯ  เมื่อเผชิญกับเหตุการณ์แห่งยุคนี้ที่โจมตีพวกเราอย่างแสนสาหัส พวกเรามีความรับผิดชอบร่วมกันที่เกิดจากการรับรู้ถึงคุณค่าที่ตีค่ามิได้ของชีวิตมนุษย์ทุกคน และจากความกตัญญูที่พวกเรามีต่อบิดามารดาและปู่ย่าตายายของพวกเรา พวกเราต้องอุทิศพลังกายใจใหม่เพื่อปกป้อง พิทักษ์คุ้มครองพวกเขาจากพายุร้ายนี้ เฉกเช่นที่พวกเราเคยได้รับการปกป้องและเอาใจใส่ดูแลในทั้งพายุเล็กและใหญ่ในชีวิตของพวกเรา  พวกเราไม่อาจที่ปล่อยให้ผู้สูงอายุอยู่กันตามลำพังอย่างโดดเดี่ยวเดียวดาย เพราะว่าในการอยู่อย่างโดดเดี่ยวนั้นกลับกลายเป็นไวรัสโคโรนาจะคร่าชีวิตมนุษย์เพิ่มขึ้น”

สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสตรัสบ่อยๆถึงบทบาทสำคัญที่ผู้สูงอายุมีต่อสังคม พระองค์ทรงเรียกร้องให้ผู้สูงอายุมีบทบาทใหม่  ในคำปราศรัยของพระองค์วันที่ 31 มกราคม ค.ศ. 2020 ณ ที่ประชุมสากลครั้งแรกเกี่ยวกับการอภิบาลผู้สูงอายุภายใต้หัวข้อ “ความสมบูรณ์ของการมีอายุยืนนาน” ซึ่งจัดโดยสมณสภาเพื่อฆราวาสครอบครัวและชีวิต

เมื่อพวกเราคิดถึงผู้สูงอายุ และคุยกันเกี่ยวกับพวกเขาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในมิติของการอภิบาล พวกเราต้องเปลี่ยนคำกิริยาเล็กน้อย” สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสกล่าวเมื่อเดือนมกราคม “ไม่ใช้คำที่มีแต่อดีต ราวกับว่าสำหรับผู้สูงอายุแล้วจะมีแต่ชีวิตเบื้องหลังและชีวิตในอดีต”

“ไม่เลย พระเจ้าสามารถและปรารถนาที่จะเขียนชีวิตพร้อมกับพวกเขาซึ่งประวัติศาสตร์หน้าใหม่ ประวัติศาสตร์แห่งความศักดิ์สิทธิ์ ของการรับใช้ ของการสวดภาวนา…  วันนี้พ่อปรารถนาที่จะบอกพวกท่านว่าผู้สูงอายุ ชีวิตของท่านยังเป็นปัจจุบันและเป็นอนาคตของพระศาสนจักรด้วย  ใช่แล้ว ผู้สูงอายุเป็นอนาคตของพระศาสนจักรด้วย ซึ่งพร้อมกับบรรดาเยาวชน ผู้สูงอายุสามารถทำนายและฝัน  นี่คือเหตุผลสำคัญที่ทำไมผู้สูงอายุและเยาวชนต้องคุยกัน สนทนากัน นี่เป็นเรื่องที่มีความสำคัญ”

ต่อไปนี้เป็นจดหมายอภิบาลของวันนี้ที่แพร่โดยสำนักข่าววาติกัน

ผู้สูงอายุ: ในการอยู่อย่างโดดเดี่ยว ไวรัสโคโรนาคร่าชีวิตได้มากกว่า

ลูกๆและพี้น้องชายหญิงที่รัก

สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสทรงเตือนใจพวกเราว่า ท่ามกลาง “พายุรุนแรงที่ไม่คาดฝันนี้ พวกเรารับรูอย่างดีว่าพวกเราทุกคนต่างอยู่ในเรือลำเดียวกัน”  ภายในเรือนี้มีผู้สูอายุอยู่ด้วย  เช่นเดียวกับทุกคนพวกเขาอ่อนแอ เปราะบาง และไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร  วันนี้ความห่วงใยและความกตัญญูมุ่งไปยังพวกเขา อย่างน้อยก็เพื่อที่จะคืนความอ่อนโยนเล็กน้อยที่พวกเราทุกคนเคยไดรับมาในชีวิต รวมถึงการเอาใจใส่เยี่ยงมารดาของพระศาสนจักรที่ต้องมีไปถึงทุกคน

ในทุกวันนี้ซึ่งเป็นวันที่ยุ่งยากลำบากสำหรับทุกคน แต่ชนรุ่นพวกเขาต้องจ่ายค่าชีวิตแบบราคาแพงที่สุดสำหรับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19  สถิติบอกเราว่ากว่า 80% ของพวกเขาที่มีอายุเกิน 70 ปีต้องสูญเสียชีวิตไป

เมื่อสองสามสัปดาห์ที่ผ่านมานี้สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสตรัสว่า “การอยู่อย่างโดดเดี่ยวอาจกลายเป็นโรคร้ายอย่างหนึ่ง แต่โดยอาศัยความรัก ความใกล้ชิด การให้ความบรรเทาจิตใจเราสามารถเยียวยารักษาโรคร้ายนี้ได้”  คำพูดเหล่านี้ทำให้พวกเราสารถเข้าใจว่า หากเป็นความจริงว่าไวรัสโคโรนารุนแรงยิ่งกว่าเมื่อเข้าไปในร่างกายของบุคคลที่ไม่แข็งแรง เประบาง ซึ่งในหลายกรณีทางการแพทย์บอกว่าหากผู้นั้นอยู่อย่างโดดเดี่ยว  จึงไม่ใช่เหตุบังเอิญที่พวกเราเผชิญกับวามตายมากมายในอัดตราสัดส่วนที่น่าหวาดกลัว หรือบุคคลที่อยู่ห่างไกลจากครอบครัวและอยู่อย่างหมดกำลังใจในสภาพแห่งความโดดเดี่ยว

ด้วยเหตุนี้จึงเป็นเรื่องสำคัญที่พวกเราต้องทำทุกสิ่งเท่าที่จะทำได้เพื่อแก้ไขปัญหาของการอยู่อย่างโดดเดี่ยว และถูกทอดทิ้ง ในสถานการณ์ปัจจุบันนี่อาจหมายถึงการช่วยชีวิตไว้ด้วย

ในขณะที่เกิดความทุกข์ยากพิเศษนี้ มีความพยายามหลายอย่างที่พระศาสนจักรพยายามกระทำเพื่อผู้สูงอายุ   ความไม่สามารถที่จะไปเยี่ยมบ้านนำไปสู่การหารูปแบบที่เป็นความริเริ่มใหม่ๆมาแทน เช่นว่า โทรศัพท์ วีดีโอ สารตามสาย หรือที่เคยเป็นธรรมเนียมปฏิบัติแบบเก่าๆ คือการเขียนจดหมายที่จ่าหน้าถึงผู้ที่อยู่ตามลำพัง  บ่อยครั้งวัดต่างๆเป็นผู้ที่คอยส่งอาหารและยาไปให้ผู้ที่ถูกบังคับให้ต้องอยู่แต่ในบ้าน  เกือบทุกแห่งบรรดาศาสนบริกร (บาดหลวง นักบวช) ยังคงไปเยี่ยมตามบ้านเพื่อโปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ อวยพร อาสาสมัครจำนวนมากโดยเฉพาะเยาวชนกำลังทำงานด้วยใจกว้างแม้กรทั่งมีการสร้างเครือข่ายเบื้องต้นเพื่อความเอื้ออาทรและการดูแลรักษา

แต่ความหนักหน่วงในชาวงนี้เรียกร้องให้พวกเราต้องทำอะไรที่มากกว่า ในฐานะเอกนและในฐานะพระศาสนจักรท้องถิ่น พวกเราสามารถทำอะไรได้มากมายสำหรับผู้สูงอายุ สวดภาวนาสำหรับพวกเขา ช่วยรักษาโรคแห่งการอยู่อย่างโดดเดี่ยว สร้างเครือข่ายแห่งความเอื้ออาทร ฯลฯ  เมื่อเผชิญกับฉากที่พวกเราถูกโจมตีอย่างดุเดือด พวกเรามีความรับผิดชอบร่วมกันที่เกิดจากการรับรู้ถึงคุณค่าอันหาราคามิได้แห่งชีวิตมนุษย์ทุกคน และจากความกตัญญูต่อพ่อแม่ปู่ย่าตายายของพวกเรา พวกเราต้องอุทิศพลังกายใจใหม่เพื่อปกป้อง พิทักษ์คุ้มครองพวกเขาจากพายุร้ายนี้ เฉกเช่นที่พวกเราเคยได้รับการปกป้องและการดูแลจากพายุทั้งเล็กทั้งใหญ่ในชีวิตของพวกเรา  พวกเราไม่อาจที่ปล่อยผู้สูงอายุไว้ตามลำพัง เพราะในการอยู่อย่างโดดเดียวนั้นไวรัสโคโรนาอาจคร่าชีวิตได้มากกว่า

ผู้ที่อาศัยอยู่ในบ้านสมควรที่จะได้รับการเอาใจใส่เป็นพิเศษ  พวกเราได้รับข่าวน่ากลัวเกี่ยวกับสภาพของพวกเขาทุกวัน ซึ่งคนจำนวนนับพันๆคนได้สูญเสียชีวิตไปแล้วการที่ผู้คนอ่อนแอกระจุกอยู่ด้วยกันจำนวนมาก และมีความยากลำบากที่จะมีเครื่องป้องกันได้ก่อให้เกิดสถานกรณีที่ยากแก่การจัดการแม้จะมีการเสียสละในการช่วยเหลือ แต่ในกรณีอื่นวิกฤตปัจจุบันคือผลของการละเลยไม่รักษา แม้จะมีความสลับซับซ้อนในสถานการณ์ที่พวกเราดำเนินชีวิตอยู่ ต้องมีความชัดเจนว่าการช่วยชีวิตของผู้สูงอายุที่ดำเนินชีวิตอยู่ในบ้าน หรือผู้ที่อยู่ตามลำพังหรือผู้ที่กำลังป่วยเป็นความสำคัญอันดับแรกเช่นเดียวกันกับการช่วยชีวิตผู้อื่น ในบางประเทศที่โรคระบาดยังมีผลกระทบเล็กน้อยยังมีความเป็นไปได้ที่ควบคุมการแพร่ระบาด  แต่ในประเทศที่การระบาดลุกลามใหญ่โตจำเป็นต้องหามาตรการแก้ไขอย่างเร่งด่วน นี่มีผลกระทบต่ออนาคตของชุมชนพระศาสนจักรและสังคมของพวกเรา  เฉกเช่นสมเด็จพระสันตะปาปากล่าวไว้เมื่อไม่นานมานี้ “ผู้สูงอายุเป็นปัจจุบันและอนาคตของพระศาสนจักร” 

ในความทุกข์ที่พวกเรากำลังประสบกันอยู่ในทุกวันนี้ พวกเราถูกเรียกร้องให้มองไปยังอนาคตด้วยความรักต่อเด็กๆที่เป็นลูกหลานของพวกเรามากมาย และในการเอาใจใส่ผู้ที่กำลังให้ความช่วยเหลือและอาสาสมัคร  พวกเราสามารถเห็นพวกเขาถึงความเมตตาสงสารของสตรีที่รีบไปยังหลุมศพเพื่อดูแลพระกายของพระเยซูคริสต์ เช่นเดียวกับพวกเขา พวกเรารู้สึกกลัว และเช่นเดียวกับพวกเขา พวกเราทราบว่าพวกเราไม่อาจช่วยเขาน้อยไปกว่าคนที่ยังมีวิตอยู่

ในขณะที่พวกเราต้องรักษาระยะห่าง (social distancing) พวกเราต้องนึกถึงความเมตตาสงสารที่พระเยซูคริสต์ทรงสอนพวกเรา เฉกเช่นสตรีเหล่านั้น  ในไม่ช้าพวกเราจะเข้าใจว่านี่เป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องอยู่ใกล้ชิดกับผู้ที่มีความเดือดร้อน แม้ดูเหมือนจะเป็นอันตรายและไร้ประโยชน์ ก็ขอให้พวกเรามั่นใจในคำพูดของทูตสวรรค์ที่บอกพวกเราไห้ไม่ต้องกลัว

ดังนั้นขอให้พวกเราร่วมใจกันอธิษฐานภาวนาสำหรับบิดา มารดา ปู่ย่าตายายและผู้สูงอายุทั่วโลก ขอให้พวกเราอยู่ล้อมรอบพวกเขาในความคิดในหัวใจของพวกเรา และเมื่อเป็นไปได้ขอให้พวกเรามีการกระทำ เพื่อที่พวกเขาจะไม่ต้องอยู่ตามลำพังแบบโดดเดี่ยวเดียวดาย

จากสมณสภาเพื่อฆราวาสครอบครัวและชีวิต นครรัฐวาติกัน (06.04.2020)

โดยความเอื้อเฟื้อ ของ Jim Fair, Vatican

วิษณุ ธัญญอนันต์ – เก็บจดหมายอภิบาลผู้สูงวัยมาแบ่งปันและไตร่ตรอง